Page 46 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 46
๒๘
๔๔
ภิกษุพึงปฏิบัติต่อฆราวาส ๖ สถาน มีอยู่ข้อหนึ่งว่า “ชี้ทางสวรรค์ให้ ” เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เขามี
ความสุข ตามแบบฆราวาสทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
อนึ่ง ค าสอนทั้งหลายในพระพุทธศาสนานั้น รวมแล้วมาจากแก่นธรรมที่พระพุทธองค์ได้
ตรัสรู้คือปฏิจจสมุปบาทที่ว่าด้วยสิ่ง ๆ ต่างมีขึ้นได้เพราะมีเหตุปัจจัยที่ต่างอิงอาศัยกันเกิดขึ้นเป็นวงจร
หากตัดวงจรเสียได้ก็ไม่มีการเกิด พระองค์ทรงสอนอริยสัจ ๔ ที่ว่าด้วยเรื่องของ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
การดับทุกข์ และวิธีเพื่อดับทุกข์ พระองค์ทรงพบว่าหนทางที่จะช่วยปลดเปลื้องทุกข์ น ามาซึ่งความสุข
ในการด ารงชีวิตคือ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด อันได้แก่ การรักษาศีล
ฝึกสมาธิ และพัฒนาปัญญา เมื่อมนุษย์ปฏิบัติแล้วจะได้รับความสุขเพิ่มขึ้น ตามแต่ระดับของ
๔๕
ความสามารถที่พัฒนาได้ กล่าวคือ ศีล เป็นเครื่องมือควบคุมตนให้มีความประพฤติเป็นปกติ ค าว่า
ปกติหมายถึง ไม่สร้างความเดือดร้อนขึ้นมา การมีสมาธิคือการรู้จักควบคุมจิตใจ และการพัฒนา
ปัญญาคือการฝึกตนให้มีความรู้ในอริยสัจ ๔ เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาด้วยแนวทางนี้ แม้จะยังไม่บรรลุธรรม
อันเป็นเป้าหมายสูงสุดที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และตั้งใจสั่งสอนให้มนุษย์ไปถึงขั้นนั้น แต่มนุษย์ก็จะได้รับ
ความปกติสุขในการด าเนินชีวิต ส่งผลให้สังคมเกิดความสันติสุขไปด้วย
งานเผยแผ่พระศาสนาของพระพุทธเจ้าโดยเนื้อแท้แล้ว จึงไม่ใช่การประกาศศาสนาใน
ลักษณะของความเป็นเจ้าของกลุ่มองค์กรใด ๆ และมิได้มีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งองค์กรพระพุทธศาสนา
ให้มีความยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์เจาะจงแก่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่พระองค์ต้องการประกาศหลักการ
หรือแบบแผนในการด ารงชีวิตที่ดีงามตามที่พระองค์ทรงค้นพบ ให้ชาวโลกได้รับรู้และน าไปปฏิบัติ
“เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข และเพื่อสันติภาพของมวลมนุษย์” โดยที่พระพุทธองค์ทรงเชื่อมั่นว่า
มนุษย์มีศักยภาพที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนได้ การรู้ธรรมคือการพัฒนา และพัฒนาการขั้นสูงสุดของ
มนุษย์คือการได้บรมธรรม หรือพระนิพพาน อันเป็นภาวะที่มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวลโดยสิ้นเชิง
๒.๑.๔.๒ หลักการ
เมื่อจะกล่าวถึงหลักการและเหตุผล หรือหัวใจของพระพุทธศาสนาคือ
โอวาทปาติโมกข์ว่า
ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็น
บรมธรรม ผู้ท าร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ การไม่ท า
บาปทั้งปวง การท ากุศลให้ถึงพร้อม การท าจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้คือค าสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความส ารวมในปาติโมกข์
๔๔ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๒๔๔/๒๐๐.
๔๕ พุทธทาสภิกขุ, อบรมพระธรรมทูต, หน้า ๒๖-๒๗.