Page 45 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 45

๒๗


                                     ๒.๑.๔.๑. เป้าหมาย
                                     หลังการตรัสรู้ ๔๙ วัน พระองค์เริ่มงานโดยการเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่า

                       อิสิปตนมฤคทายวัน จากนั้นก็ได้โปรดสาธุชนอีกจ านวนหนึ่งในระหว่างที่ทรงจ าพรรษา ณ ป่า
                       อิสปตน มฤคทายวัน เมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ทรงมีสาวกถึง ๖๐ รูป พระสาวกเหล่านี้ล้วนเป็น

                       พระอรหันต์ จากนั้นพระองค์ทรงเริ่มงานขั้นต่อไปด้วยการส่งพระสาวกเหล่านั้นไปท างาน

                       เป็นนโยบายแรกเริ่มของงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นที่สังเกตว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ค าว่า

                       “ประกาศพรหมจรรย์” มิใช่ “เผยแผ่พระพุทธศาสนา” การประกาศพรหมจรรย์ จึงเป็นการเผยแผ่
                                                      ๓๙
                       รูปแบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐ  เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น
                                 ในจูฬนิเทศ ขุททกนิกาย อธิบายถึงประโยชน์และการรู้จักประโยชน์ว่า เป็นการท าให้แจ่ม

                       แจ้งแล้ว ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน ประโยชน์

                                                                      ๔๐
                       ในภพหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง อันหมายถึงพระนิพพาน
                                 ส าหรับประโยชน์ในภพปัจจุบันนั้น ชื่อว่าทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง การรู้จักใช้

                       ความสามารถเพื่อการประกอบหน้าที่การงานอันเป็นสุจริตให้ได้ผลดี การรู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้

                                                                                           ๔๑
                       การรู้จักคบมิตร การรู้จักบริหารรายรับรายจ่ายเพื่อประคองชีวิตให้ได้อย่างเหมาะสม  ส่วนประโยชน์
                       ในภพหน้าชื่อว่า สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ประโยชน์ในอนาคต ได้แก่ การมีศรัทธาที่เหมาะสม

                       ประพฤติอยู่ในศีลธรรม รู้จักเสียสละ และพัฒนาปัญญาของตน ก็จะส่งผลให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิต
                       ในอนาคตต่อไป
                                   ๔๒

                                 จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนามิได้สอนมุ่งสู่นิพพานเท่านั้น แต่ให้ความส าคัญกับ
                       การด ารงชีวิตอย่างเป็นสุขของปุถุชนด้วย ผู้ที่ต้องการเป็นสมณะประพฤติพรหมจรรย์ พระพุทธองค์ก็

                       จะทรงสอนให้ละเลิกกามคุณให้สิ้น แต่หากเป็นปุถุชนกลับทรงสอนให้รู้จักปฏิบัติต่อกามคุณอย่าง

                       ถูกต้อง โดยที่ยังคงความเป็นอิสระอยู่ได้ ไม่ตกเป็นทาสของกามคุณ และมิให้กามคุณกลายเป็นสิ่งก่อ
                       โทษทุกข์ภัย ตัวอย่างเช่น ในโทณพราหมณสูตร ที่ทรงยกธรรมของคหบดีพราหมณ์เรื่องการแต่งงาน

                                                   ๔๓
                       และกามคุณในชีวิตคู่ขึ้นมาเทศนา  หรือในสิงคาลกสูตร มีข้อความที่พระองค์ทรงก าหนดหน้าที่ของ





                                 ๓๙  พุทธทาสภิกขุ, อบรมพระธรรมทูต, (กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิและธรรมสภา, ๒๕๔๔),
                       หน้า ๒๕-๒๖.

                                 ๔๐  ขุ.จู. (ไทย) ๓๐/๑๔๔/๔๗๔.
                                 ๔๑  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้ง
                       ที่ ๓๘, หน้า ๑๑๖.

                                 ๔๒  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๔๖-๑๔๗.
                                 ๔๓  องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๙๒/๓๒๐.
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50