Page 41 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 41
๒๓
๒.๑.๓.๗ พุทธวิธีตอบปัญหา
วิธีตอบปัญหาที่พระพุทธองค์ทรงใช้ตามลักษณะของปัญหา ๔ ประเภท คือ
(๑) เอกังสพยากรณียปัญหา หรือ ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว
(๒) วิภัชชพยากรณียปัญหา หรือ ปัญหาที่ควรแยกตอบ
(๓) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา หรือ ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม
๒๗
(๔) ฐปนียปัญหา หรือ ปัญหาที่ควรงดตอบ
วิธีการเหล่านี้ เป็นหลักการที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในการตอบปัญหาที่มีบุคคลต่าง ๆ
สอบถามหรือสนทนากับพระองค์ ซึ่งมีค าอธิบายวิธีการตอบปัญหาแต่ละข้อไว้ดังนี้
๑) เอกังสพยากรณียปัญหา หรือปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว ซึ่งแปลอีกอย่างว่า
ปัญหาที่ควรตอบทันที เป็นปัญหาง่าย ๆ ผู้ถามถามด้วยความบริสุทธิ์ใจ ต้องการค าตอบ และฟังแล้ว
ได้ประโยชน์
๒) วิภัชชพยากรณียปัญหา หรือปัญหาที่ควรแยกตอบ ซึ่งแปลอีกอย่างว่า ปัญหาที่
ควรตอบอย่างมีเงื่อนไข เป็นปัญหาคลุมเครือ มีสองแง่สองมุม ถ้าตอบอย่างตรงไปตรงมา อาจจะผิดได้
จึงต้องตอบอย่างมีเงื่อนไข เพราะบางครั้งคนถามอาจมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ มีเล่ห์เหลี่ยม เพื่อจับผิด
๓) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา หรือปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม ซึ่งแปลอีกอย่าง
ว่า ปัญหาที่พึงย้อนถามก่อนแล้วจึงตอบ เป็นปัญหาที่ผู้ถามมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อยู่ก่อน
แล้วเพื่อให้ผู้ถามเข้าใจเรื่องที่ถามหรือปัญหาได้ถูกต้อง จึงใช้การย้อนถามเพื่อให้ผู้ถามเข้าใจปัญหาที่
ถามได้
๔) ฐปนียปัญหา หรือปัญหาที่ควรงดตอบ ซึ่งแปลอีกอย่างว่า ปัญหาที่ไม่พึงตอบเลย
มักเป็นปัญหาทางอภิปรัชญา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะหน้า คือการแก้ทุกข์ และมักถามเพื่อ
ชวนถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญาของตนมากกว่าการแสวงหาความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง
๒๘
๒.๑.๔ พระพุทธเจ้าทรงมอบหลักการเผยแผ่พระศาสนาแก่สาวก
พระพุทธเจ้าทรงมอบหลักการหรือแนวทางเพื่อเผยแผ่หรือประกาศพระศาสนาให้แก่
พระสาวกผู้เป็นพระธรรมทูต ดังนี้
๑) แนวทางการประกาศพระศาสนาแก่พระอรหันต์สาวก ๖๐ องค์แรก ซึ่งทรงส่งไป
ประกาศพระศาสนาเป็นชุดแรก ใช้เป็นหลักในการท าหน้าที่ และพระภิกษุสาวกใช้ในการท าหน้าที่
พระธรรมทูตจนถึงปัจจุบัน
๒๗ องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๔๒/๗๐.
๒๘ แสง จันทร์งาม, วิธีสอนของพระพุทธเจ้า, (กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐),
หน้า ๙๓-๑๐๑.