Page 40 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 40

๒๒


                                     ๒.๑.๓.๖  พุทธวิธีสอนด้วยปาฏิหาริย์
                                     ปาฏิหาริย์ที่ทรงใช้ในการประกาศพระพุทธศาสนาแก่บุคคลต่าง ๆ ๓ ประเภท ดังนี้

                                     (๑) อิทธิปาฏิหาริย์ คือ แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ได้แก่ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็
                       ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา ก าแพง (และ) ภูเขาไป

                       ได้ ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือด าลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ าก็ได้ เดินบนน้ าโดยที่น้ า

                       ไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้อ านาจทาง
                       กายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เป็นตัวอย่าง แต่พระพุทธเจ้าเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้

                       และรังเกียจเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์  เช่น พระพุทธองค์ทรงมิให้ท่านเศรษฐีบิดาของท่านยสะเห็นท่าน
                                                 ๑๘
                       ยสะ ทั้งที่นั่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ขณะที่ท่านนั่งฟังพระธรรมจากพระพุทธองค์  หรือเมื่อองคุลิมาล
                                                                                        ๑๙
                       ขณะเป็นโจรและวิ่งไล่ตามหลังพระพุทธองค์ แต่ไม่สามารถวิ่งตามได้ทัน  เป็นตัวอย่าง
                                                                                 ๒๐
                                     (๒) อาเทสนาปาฏิหาริย์ คือ แสดงปาฏิหาริย์ ได้แก่ ทายจิต ทายเจตสิก ทายความ
                       วิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ เป็นต้น

                       พระพุทธเจ้าเล็งเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์ และรังเกียจเรื่องอาเทสนาปาฏิหาริย์  เช่น พระพุทธ
                                                                                            ๒๑
                       องค์ทรงใช้วิธีนี้กับอุรุเวลกัสสปและกลุ่มชฎิล เมื่อไปโปรดชฎิลที่ต าบลอุรุเวลาเสนานิคม  เป็นต้น
                                                                                              ๒๒
                                     (๓) อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์ คือ การพร่ าสอนต่าง ๆ เช่น ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึก

                       อย่างนั้น จงใส่ใจอย่างนี้ อย่าใส่ใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด  หรือจงตรึกอย่างนี้
                                                                                       ๒๓
                       อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่
                                                                                                        ๒๔
                       ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนีย์ ค าสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง น าไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์
                                                                                                        ๒๕
                       วิธีนี้เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุด เพื่อช่วยให้พระสาวกสามารถบรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็ว
                       เมื่อปฏิบัติตามค าสอนของพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงกล่าวยืนยันกับสังคารวพราหมณ์ว่า ภิกษุผู้

                                                                ๒๖
                       ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่จ านวนมาก





                                 ๑๘  ที.สี. (ไทย) ๙/๔๘๔/๒๑๔-๒๑๕.
                                 ๑๙  ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๒๗/๓๓-๓๔.
                                 ๒๐  ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๓๔๘/๔๒๒-๔๒๓.
                                 ๒๑  ที.สี. (ไทย) ๙/๔๘๕/๒๑๕-๒๑๖.

                                 ๒๒  ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๗-๕๔/๔๗-๖๕.
                                 ๒๓  ที.สี. (ไทย) ๙/๔๘๖/๒๑๖.
                                 ๒๔  องฺ.ทุกฺ. (ไทย) ๒๐/๖๑/๒๓๕.

                                 ๒๕  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๙๖.
                                 ๒๖  องฺ.ทุกฺ. (ไทย) ๒๐/๖๑/๒๓๗.
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45