Page 35 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 35
๑๗
พระพุทธศาสนาโดยยึดถือหลักการที่พระพุทธองค์ทรงมอบให้แก่พระสาวกผู้เป็นพระอรหันต์สาวก
๖๐ รูปแรก ดังมีพระด ารัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วง ทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้พวก
๒
เธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ
ความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามใน
๓
๔
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อม
ทั้งอรรถ และพยัญชนะ สัตว์ทั้งหลายพวกที่มีธุลีคือกิเลสน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม
ไป ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี
๕
การประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะให้บริสุทธิ์บริบูรณ์นั้นท าได้อย่างไร ใน
ประเด็นนี้ เหล่าสาวกที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาพึงด าเนินตามค าสอนดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญ ท าให้มากด้วยดีโดย
วิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ด ารงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
๖
ทั้งหลาย
จากพระด ารัสนี้อธิบายได้ว่า การเผยแผ่ คือการท าให้ขยายออกไป การท าให้ขยาย
วงกว้างออกไป ท าให้แพร่หลายออกไป การเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้แก่การด าเนินงานเพื่อให้
หลักธรรมค าสั่งสอนในพระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปในทุกสารทิศ มีผู้ศรัทธาเลื่อมใส เคารพ
ย าเกรง ในพระรัตนตรัย น้อมน าเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติ
๒ บ่วง ในที่นี้หมายถึง โลภะ วิ.อ. (ไทย) ๓/๓๒/๑๙.
๓ ธรรมมีความงามในเบื้องต้นหมายถึงศีล ธรรมมีความงามในท่ามกลางหมายถึง อริยมรรค และธรรม
มีความงามในที่สุดหมายถึงพระนิพพาน ที.สี.อ. (ไทย) ๑๙๐/๑๕๙.
๔ ค าว่า พรหมจรรย์หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) ไวยาวัจจะ
(การขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต) เมถุนวิรัติ
(การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร) อุโปสถังคะ (องค์
อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงพระพุทธศาสนา ที. สี.อ. (ไทย)
๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒.
๕ วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๑.
๖ วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๐.