Page 34 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 34
บทที่ ๒
หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคัมภีร์เถรวาท
ในบทนี้ผู้วิจัยจะศึกษาหลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคัมภีร์เถรวาทในประเด็น
ดังต่อไปนี้
๒.๑ ความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๒.๒ วิเคราะห์พุทธวิธีในการเผยแผ่
๒.๓ ความเป็นมาของพระธรรมทูตในสมัยพุทธกาล
๒.๔ พระสาวกที่ออกไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างถิ่น: การจัดโครงสร้างองค์กร
๒.๕ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาวก
๒.๖ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
๒.๑ ความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๒.๑.๑ ความหมายของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หมายถึง การท าให้พระพุทธศาสนาขยายออกไป กล่าวคือการ
ขยายพระพุทธศาสนาซึ่งครอบคลุมถึงพระธรรมค าสอนของพระพุทธเจ้าให้ออกไปสู่พหูชน ให้ได้รับ
ประโยชน์มากที่สุด ไปในที่ที่ยังไม่มีพระธรรมค าสอนเหล่านี้หรือมีแล้วแต่ยังไม่เกิดความเข้าใจอย่าง
แท้จริง ค าว่า เผยแผ่ มีความหมายว่า ท าให้ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา ในงานวิจัยเล่มนี้
๑
ผู้วิจัยให้ความหมายของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาว่า การน าพระธรรมค าสอนของพระพุทธเจ้าไป
ประกาศหรือแสดงให้แก่บุคคลในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลจ านวนมากได้รับประโยชน์จากพระ
ธรรมค าสอนเหล่านั้น ซึ่งมีที่สุดคือความดับทุกข์
๒.๑.๒ การเผยแผ่พระศาสนาในสมัยพุทธกาล
การเผยแผ่พระศาสนาในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงด ารงพระชนม์ชีพ ส่วนใหญ่จะผ่านการ
ถ่ายทอดพระธรรมค าสอนของพระพุทธองค์จากพระสงฆ์สาวกเป็นหลัก พระสาวกผู้ท าหน้าที่เผยแผ่
พระศาสนาหรือเผยแผ่พระธรรมค าสอนของพระพุทธองค์นั้น ท าหน้าที่ภายใต้หลักการซึ่งพระพุทธ
องค์ตรัสไว้ว่า เพื่อประโยชน์แก่มหาชน นั่นคือเพื่อให้ชนจ านวนมากได้รับประโยชน์จากพระธรรมค า
สอนในพระพุทธศาสนามากที่สุด ผู้ที่จัดว่าเป็นต้นแบบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้แก่
พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาของพระพุทธศาสนา รวมถึงพระสาวกผู้ท าหน้าที่เผยแผ่
๑ ส านักงานราชบัณฑิตยสภา, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา: http://www.royin.go.th/dictionary/index.php. [๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑].