Page 29 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 29

๑๑


                                 แม่ชีคมคำย คุมพันธ์ ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                       ของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ: ศึกษาเฉพาะกรณี พระสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธภิกขุ)”

                       ผลการวิจัยพบว่า ท่านเป็นชาวอเมริกันมาบวชและเป็นลูกศิษย์ศึกษาพระพุทธศาสนาจากหลวงพ่อ
                       ชา สุภทฺโท และท าหน้าที่พระธรรมทูตสายต่างประเทศ ปฏิปทาของท่านเมื่อประจ าอยู่ในประเทศ

                       อังกฤษ ได้แก่ หน้าที่ในการเป็นล่ามให้แก่หลวงพ่อชา มีความเพียรอดทน มีกิจวัตรในการบิณฑบาต

                       เป็นพระนักเทศน์ เป็นนักอบรมให้พุทธศาสนิกชนมีศีล เป็นนักปฏิบัติกรรมฐาน (ฝึกจากคณะ ๕ วัด
                       มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และที่ประเทศพม่า) เป็นนักบริหารจัดการวัด เป็นนักพัฒนาคนและพัฒนา

                       สถานที่ สร้างถาวรวัตถุของวัด เป็นนักสร้างบุคคลให้เป็นพระ เณรและแม่ชีธารา และเป็น
                       พระอุปัชฌาย์ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษในระยะแรก ๆ พบว่า

                       ชาวอังกฤษไม่ค่อยใส่บาตร วัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกัน การเดินทางโดยสารรถสาธารณะมี

                       อุปสรรคเพราะต้องใกล้ชิดกับผู้หญิง การท างานเผยแผ่จึงต้องมีการปรับตัวหลายประการ ส่วนปัญหา
                       และอุปสรรคในการเผยแผ่ในประเทศไทย ได้แก่ การสื่อสาร เนื่องจากในช่วงต้นท่านยังไม่ช านาญ

                       ในการใช้ภาษาไทย ภูมิอากาศที่ค่อนข้างร้อน วัตรปฏิบัติที่ต้องนั่งพับเพียบ รสชาติของอาหารอีสาน

                       ที่มีรสจัด รวมถึงอารมณ์ส่วนตัวที่เกิดขึ้น เช่น ไม่อดทน หงุดหงิดง่าย โกรธ เป็นตัวอย่าง
                                                                                              ๑๘
                                 พระปรีชำ พงษ์พัฒนะ ศึกษาเรื่อง “การติดตามและประเมินผลโครงการอบรมพระธรรม

                       ทูตสายต่างประเทศ: ศึกษาเฉพาะพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา” ผลการวิจัยพบว่า พระธรรมทูต
                       ซึ่งเข้ารับการอบรมในโครงการอบรมพระธรรมทูตรุ่นที่ ๑-๖ และปฏิบัติหน้าที่ในประเทศ

                       สหรัฐอเมริกา มีความคิดเห็น ดังนี้ ด้านการน าไปใช้ของเนื้อหาภาควิชาการ พบว่าอยู่ในระดับปาน

                       กลางถึงระดับสูง ด้านการน าไปใช้ของเนื้อหาภาคจิตภาวนา พบว่าอยู่ในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง
                       ด้านการน าไปใช้ของเนื้อหาภาคสาธารณูปการ พบว่าอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง ขณะที่ปัญหา

                       และอุปสรรคที่พบ ได้แก่ การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารพุทธธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนา
                       กรรมฐานแก่ชาวต่างชาติ ส่วนด้านสาธารณูปโภค พบปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายการก่อสร้างของแต่

                       ละเมืองและแต่ละรัฐ ส่วนการประเมินในภาพรวม พบว่า หลักสูตรทั้งภาควิชาการ ภาคจิตภาวนาและ

                       ภาคสาธารณูปโภคมีความเหมาะสมดีแล้ว แต่ขอเพิ่มเติมเรื่องความรู้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะ
                       ภาษาอังกฤษ ส่วนความคิดเห็นต่อการด าเนินโครงการในภาพรวมของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับ

                       หลักสูตร พบว่า หลักสูตรสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของโครงการได้ดีในระดับหนึ่ง และมี








                                 ๑๘  แม่ชีคมคาย คุมพันธ์,  “การศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสาย

                       ต่างประเทศ: ศึกษาเฉพาะกรณี พระสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต  สุเมโธภิกขุ)”, วิทยำนิพนธ์พุทธศำสตรมหำบัณฑิต ,
                       (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หน้า ๘๗-๘๙.
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34