Page 28 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 28
๑๐
ของชาติ การเทศน์ การปาฐกถา การเขียนบทความ การจัดสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
เป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกที่ตั้ง เช่น การสอนบรรยายธรรมในสถานศึกษาหรือหน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชนที่อยู่นอกวัด การใช้เทคโนโลยี สื่อสารมวลชน วิทยุโทรทัศน์หรือการจัดกิจกรรม
ทางศาสนานอกวัด เป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเครือข่าย เช่น การจัดกิจกรรมทาง
วิชาการ การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม การส่งต่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
ร่วมกันของวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครือข่ายชาวพุทธทั้งฝ่ายฆราวาสและพระสงฆ์
(สมัชชาสงฆ์ไทย)
๒. ปัญหาและอุปสรรคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น พระธรรม
ทูตยังไม่เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนไปเผยแผ่ดีพอ ท าให้การสื่อสารกับคนในประเทศ
นั้นไม่ดีเท่าที่ควร ด้านองค์กรสงฆ์ที่มีส่วนในการดูแลพระธรรมทูตยังไม่เข้มแข็งพอ ให้การสนับสนุน
และดูแลได้ไม่ทั่วถึง แม้ปัจจุบันจะมีหลายหน่วยงานที่ก ากับดูแลโดยตรงแต่ก็ยังครอบคลุมได้ไม่ทั่วถึง
๓. แนวทางการแก้ไขปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกา
ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหาร การจัดการและการปกครองส าหรับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ
โดยจัดตั้งสถาบันหรือวิทยาลัยพระธรรมทูต เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานเผยแผ่พระศาสนา
ในต่างประเทศ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการพระธรรมทูต ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ควรได้รับ
มอบอ านาจจากมหาเถรสมาคม ให้สามารถเข้าไปดูแลเรื่องการคัดเลือก จัดส่งพระธรรมทูตฯ
ไปประจ าหรือท างานในต่างประเทศ การดูแลเรื่องสวัสดิการ สุขภาพ การเดินทางไปเผยแผ่
การพิจารณาให้ความดีความชอบ และมาตรการลงโทษ พร้อมกันนี้ควรมีบุคลากร และงบประมาณรับ
๑๖
สนองงานด้านนี้อย่างเพียงพอ
พระมหำปรำโมทย์ มหำวีริโย (ปีกรม) ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาของพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ในฐานะพระธรรมทูตไทยประจ าประเทศ
อินเดีย” ผลการวิจัยพบว่า พระธรรมทูตในประเทศไทยพัฒนามาจากโครงการธรรมจาริก
โดยคุณสมบัติของพระธรรมทูตจะต้องปฏิบัติต่อชุมชนสังคม มีการอบรม แนะน าสั่งสอนศีลธรรม
ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และการประกอบอาชีพ ให้การศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ เป็นต้น
๑๗
๑๖ พระมหาสุริยา วรเมธี และคณะ, “ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระ
ธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา”, รำยงำนกำรวิจัย, (สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า บทคัดย่อ.
๑๗ พระมหาปราโมทย์ มหาวีริโย (ปีกรม), “การศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชรัตนรังษี
(วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ในฐานะพระธรรมทูตไทยประจ าประเทศอินเดีย”, วิทยำนิพนธ์พุทธศำสตรมหำบัณฑิต, (บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘), หน้า ๒.