Page 27 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 27
๙
ข้อเสนอแนะ พบว่า พระธรรมทูตควรพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง โดยเฉพาะขาดความรู้
๑๔
ขาดประสบการณ์ ขาดทักษะในด้านภาษาอังกฤษและการสื่อสาร
พระมหำวินัย ปุญฺ ำโณ และคณะ วิจัยเรื่อง “การศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เถรวาทของไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา” ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือในการ
ตอบแบบสอบถามครั้งนี้มีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ เป็นต้นว่า พุทธศาสนิกชนไทยในอเมริกามี
ความเห็นว่าพระธรรมทูตยังมีคุณสมบัติในหลาย ๆ ด้าน ที่ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในการเผย
แผ่พระพุทธศาสนาในอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณสมบัติต่าง ๆ ในแง่ของการบริหารจัดการ
กระบวนการในการท างาน เช่น ภาวะผู้น า วิสัยทัศน์ การวางแผน กระบวนการตัดสินใจ เป็นต้น
ในแง่ของบทบาทด้านต่าง ๆ แสดงถึงความสอดคล้องกันในด้านคุณสมบัติที่ต้องมีการ
พัฒนา กล่าวคือ พระธรรมทูตมีบทบาทเป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา แต่คนไทย
เหล่านั้นรวมทั้งพระธรรมทูตเองยังมีความรู้สึกว่าพระธรรมทูตแสดงบทบาทหรือด าเนินงานในกลุ่ม
ชาวต่างชาติได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อประเมินจากความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนและพระธรรมทูตเอง
พบผลที่สอดคล้องกันเรื่องความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษที่ต้องมีการพัฒนา เพราะเป็น
๑๕
ปัญหาที่ท าให้การด าเนินบทบาทในหมู่ชาวต่างชาติท าได้ไม่ค่อยดี
พระมหำสุริยำ วรเมธี และคณะ วิจัยเรื่อง “ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา” ผลการวิจัยพบว่า
๑. แนวคิด วิธีการและเป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตเป็นไปตาม
หลักพุทธโอวาท แสดงธรรมให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ มีเหตุผล แสดงธรรมด้วยจิตเมตตา โดยมุ่ง
ประโยชน์แก่ผู้ฟัง ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภสักการะ ไม่แสดงธรรมโดยยกตนข่มท่านและไม่
เสียดสีข่มขู่ผู้อื่น เป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล ความสุข แก่บุคคลทั้งที่เป็นชาวพุทธและมิใช่ชาวพุทธ มุ่งที่จะพัฒนาศักยภาพ
ของบุคคลในการด าเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง โดยใช้หลักธรรมค าสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทาง
ในการชี้น าบุคคลให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เป็นศูนย์รวมจิตใจและกิจกรรมของชาวพุทธ
ในต่างประเทศ โดยมีวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้แก่ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ตั้งหรือการ
จัดกิจกรรมภายในวัด เช่น การจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมในวันส าคัญทางพระพุทธศาสนาและวันส าคัญ
๑๔ พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) และ คณะ, วิเคราะห์ยุทธศาสตร์หลักในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในอินเดีย, รำยงำนกำรวิจัย, (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๕๕), หน้า บทคัดย่อ.
๑๕ พระมหาวินัย ปุญฺ าโณ และคณะ, “การศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทของไทยใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา”, รำยงำนกำรวิจัย, (สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๔๗), หน้า บทคัดย่อ.