Page 26 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 26

๘


                                 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ กล่าวไว้ว่า นอกจากพระสงฆ์จะเป็นที่เคารพของชาวบ้านในชุมชนแล้ว
                                                                              ๑๓
                       ยังนับว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม

                                 ๑.๖.๒ งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                                 พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) และคณะ ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์

                       ยุทธศาสตร์หลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในอินเดีย” ด้านการเผยแผ่
                       พระพุทธศาสนา พบว่า การปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดไทยในอินเดีย จัดเป็นยุคทองของพระธรรมทูต

                       วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในอินเดียและชาวพุทธต่างชาติ ได้ประกาศเกียรติคุณของชาติให้

                       ประจักษ์แก่คนทั่วโลก ในส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า ปัจจุบันพระธรรมทูตมีจ านวนน้อยมาก ท างานไม่
                       เป็นทีม ขาดการมีส่วนร่วม ไม่มีเครือข่ายชาวพุทธระดับนานาชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                       จ าเป็นต้องสร้างส านักงานพระธรรมทูตให้ชัดเจน เพื่อสร้างเครือข่ายในระดับองค์การได้
                                 ด้านการศึกษา พบว่า พระธรรมทูตได้ให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษา มีการสร้างโรงเรียน

                       ปัญจศีล และโรงเรียนต้นกล้า มีการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน น าเยาวชนมาปฏิบัติ

                       ธรรมในวัด มีการท าวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา ในส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า วัดยังไม่ได้สร้าง
                       เครือข่ายศูนย์การศึกษา เพื่อประสานงานกับองค์การข้างนอก ผู้สอนขาดทักษะด้านภาษาท้องถิ่น

                       และการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนยังไม่เพียงพอ จ าเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยเหลือ

                                 ด้านการสงเคราะห์ พบว่า พระธรรมทูตเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตา มีการอนุเคราะห์
                       ต่อผู้อื่น มีการแจกสิ่งของเครื่องใช้อุปโภค บริโภคและการดูแลรักษาพยาบาล  มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อ

                       การอนุเคราะห์การศึกษาเผยแผ่ ในส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า วัดยังขาดกองทุนเพื่อการสงเคราะห์สุขภาพ
                       ชุมชน เมื่อประสบภัยพิบัติ ขาดทุนทรัพย์ในการบริหาร  จึงจ าเป็นอย่างยิ่งต้องหาแนวทางในการตั้งเป็นกองทุน

                       หรือมูลนิธิขึ้น เพื่อจะเอื้อต่อการท างานสงเคราะห์ด้านนี้

                                 ด้านคุณสมบัติของพระธรรมทูต พบว่า จากการปฏิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูต
                       ได้มองเห็นประโยชน์ในการเผยแผ่หลักธรรมค าสอนทางศาสนา มีความมั่นใจในคุณค่า ความดีงาม

                       และมุ่งมั่นแน่วแน่ต่ออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา ท าให้เห็นประโยชน์ที่เป็นคุณสมบัติของ
                       พระธรรมทูต ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า พระธรรมทูตท างานไม่ต่อเนื่อง เกิดอาการท้อแท้ หมดก าลังใจ

                       รู้สึกเบื่อต่อภาระความรับผิดชอบและเกิดความรู้สึกว่าการมาปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูต ท าให้ความรู้

                       ความสามารถของตนเองด้อยลง จ าเป็นต้องสร้างก าลังใจและความพึงพอใจในการท างานให้มากขึ้น
                                 ด้านความคิดเห็น พบว่า พระธรรมทูตได้เกิดรู้สึกมีความเสียสละ มีความรับผิดชอบด้าน

                       การเผยแผ่และได้ทุ่มเทก าลังกายและก าลังใจให้กับภารกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในส่วน






                                 ๑๓  สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ศำสนำกับสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร: พาสิโก, ๒๕๒๔), หน้า ๖๓.
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31