Page 21 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 21
๓
พระธรรมทูตที่ปรากฏในประเทศไทย แบ่งได้ ๒ ประเภท คือ พระธรรมทูตในประเทศกับ
พระธรรมทูตสายต่างประเทศ ได้มีการส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกประเทศไทยอย่าง
เป็นทางการเริ่มด าเนินการมาในราว พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ซึ่งในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๙ กรมการ
ศาสนาได้ฟื้นฟูงานพระธรรมทูตในประเทศขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมุ่งหมายให้
ประชาชนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา มีศีลธรรมประจ าใจ มีความเคารพรักต่อประเทศชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ มีความเข้าใจอันดีระหว่างชนที่นับถือศาสนาต่าง ๆ และได้ทดลองด าเนินงานโดย
อาราธนาพระเถระผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าคณะอ านวยการ จัดส่งพระสงฆ์ออกจาริกประกาศพระศาสนาใน
๗
ถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย ในส่วนของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ได้มีพระภิกษุสงฆ์ไปปฏิบัติ
ศาสนกิจในประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และเพื่อรองรับการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ท าให้มี
การสร้างวัดไทยในประเทศต่าง ๆ เกือบทุกทวีป ท าให้ในช่วง พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๓ มีการจัดอบรม
พระภิกษุเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ แต่ได้หยุดด าเนินการไป และได้กลับมาด าเนินการจัด
ฝึกอบรมพระภิกษุสงฆ์เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูตสายต่างประเทศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ในราว พ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงาน
หลักในการท าหน้าที่จัดอบรมพระธรรมทูตไทยเพื่อท าหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมา
๘
จนถึง พ.ศ. ๒๕๖๑ นับเป็นรุ่นที่ ๒๔ ซึ่งจ านวนพระภิกษุที่เข้ารับการอบรม ๒๔ รุ่น รวม ๑,๘๙๔ รูป
แต่จ านวนพระธรรมทูตสายต่างประเทศที่ผ่านการอบรมยังคงไม่เพียงพอต่อการท าหน้าที่เผยแผ่
พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
การประกาศพระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยพระองค์เองและ
พระสาวก เมื่อล่วงเวลามาถึงยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
ออกเผยแผ่พระศาสนาจนท าให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงประเทศไทยและกลายเป็นศาสนาของคน
ส่วนใหญ่ในประเทศมานานกว่า ๗๐๐ ปี ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามค าแหงมหาราชเป็นต้นมา ประเทศไทย
ได้ให้ความส าคัญกับการจัดส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ประเทศศรีลังกา ในสมัย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นที่มาของงานพระธรรมทูตในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาในต่างประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ดังนั้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและ
การปฏิบัติหน้าที่ของพระธรรมทูต ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร และการปฏิบัติ
๗ สง่า พิมพ์พงษ์, คู่มือพระธรรมทูต, (กรุงเทพมหานคร: ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,
๒๕๕๑), หน้า ๑๑-๑๒.
๘ วิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, สถิติพระธรรมทูต โครงการอบรม
พระธรรมทูตสายต่างประเทศ (ฝ่ายมหานิกาย).