Page 19 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 19

บทที่ ๑

                                                             บทน ำ




                       ๑.๑  ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ


                                 การด ารงอยู่ของพระพุทธศาสนาจากวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศ
                       พระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๒,๖๐๐ ปี พระพุทธศาสนาได้สูญหายไปจากดินแดนต้น

                       ก าเนิด (ประเทศอินเดีย) ในราว พ.ศ. ๑๗๐๐ เป็นต้นมา และได้รับการฟื้นฟูขึ้นในประเทศอินเดียอีก

                       ครั้งในราว พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยนายเยาวหรลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) นายกรัฐมนตรีของอินเดีย
                       และ ดร. บิมเรา รามจิ เอมเบดการ์ (Dr. Bhimrao Ramji Ambedkar) ผู้น าชาวอินเดียพุทธ  ในช่วง
                                                                                                   ๑
                       เวลาที่พระพุทธศาสนาสูญหายไปจากดินแดนต้นก าเนิด ได้ไปปรากฏขึ้นนอกดินแดนต้นก าเนิด ได้แก่

                       ประเทศไทย ศรีลังกา พม่า ลาว  กัมพูชา เป็นต้น และท าให้พระพุทธศาสนายังด ารงอยู่จนถึงทุกวันนี้
                       และได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในดินแดนต้นก าเนิด

                                 การประกาศศาสนาของพระพุทธองค์ในฐานะพระศาสดาและพระธรรมทูตองค์แรก ท าให้
                       เกิดพระสาวกผู้เป็นพระอรหันต์และพระธรรมทูตชุดแรกขึ้น พระพุทธองค์ได้ส่งพระสาวกเหล่านั้นไป

                       ประกาศพระธรรมในทิศต่าง ๆ โดยตรัสว่า “พวกเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก

                       เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์”  การเผยแผ่
                                                                                               ๒
                       พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลกระท าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงธรรม การสนทนาธรรม การ

                       แนะน าสั่งสอน การตอบปัญหาข้อข้องใจ ความน่าเลื่อมใสของพระสาวก โดยพระพุทธเจ้าได้ประทาน
                       หลักการและเทคนิคในการเผยแผ่ให้เป็นผู้มีคุณธรรม มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ชี้แจงให้เข้าใจ

                       ชัดเจนในแต่ละประเด็น แสดงธรรมด้วยจิตเมตตา โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง ไม่แสดงธรรมเพราะ

                                                                                  ๓
                       เห็นแก่ลาภสักการะ ไม่แสดงธรรมยกตนข่มท่านและไม่เสียดสีข่มขู่ผู้อื่น  และอีกหลักการหนึ่ง ได้แก่
                       หลักที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญพระสารีบุตร ว่าเป็นพระธรรมทูตที่พร้อมด้วยธรรม

                       ๘ ประการ คือ (๑) ยอมรับฟังข้อแนะน าในกติกา กฎหมายหรือความเป็นไปของบ้านเมืองนั้น ๆ

                       (๒) ท าให้เขาได้ยินหรือรับฟังจุดประสงค์หรือธรรมะที่ตนน ามา (๓) เรียนรู้อุปนิสัย สภาวะความเป็นไป
                       ของบ้านเมืองนั้น ๆ เพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมของเขาโดยไม่เสียความเป็นสมณสารูป  (๔) เมื่อ



                                 ๑  สถานทูตไทยในประเทศอินเดีย กรุงนิวเดลี  แหล่งที่มา: http://newdelhi.thaiembassy.org/th
                       [๑ พฤศจิกายน  ๒๕๖๑].

                                 ๒  วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๐.
                                 ๓  องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๕๙/๒๖๓.
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24