Page 30 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 30
๑๒
ข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มระยะเวลาในการอบรม สร้างจิตส านึกพระธรรมทูต และเพิ่มเครื่องมือ
๑๙
เทคโนโลยีที่ทันสมัย วิชาภาษาอังกฤษและวิชาธรรมะให้มากขึ้น
บัญชำยุทธ นำคมุจลินท์ ศึกษาเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทที่พึงประสงค์
ในพระพุทธศาสนา” โดยศึกษาศาสนทายาทของเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น
เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตและสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
น าข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทต่อไป พบว่า การพัฒนาศาสนทายาท
ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต้องให้เข้ารับการพัฒนาคุณลักษณะด้านการศึกษาในเชิงวิชาการและ
๒๐
การศึกษาเชิงพุทธควบคู่กันไป โดยยึดทฤษฎีไตรสิกขาเป็นหลัก
กฤติยำ วโรดม ศึกษาเรื่อง “พัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทย
สายอินเดีย-เนปาล” ผลการศึกษาวิจัย พบว่า พ.ศ. ๒๕๕๘ งานเผยแผ่ของคณะสงฆ์ได้พัฒนาขึ้นมาสู่
งานพระธรรมทูตทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะสายต่างประเทศเป็นการเผยแผ่เชิงรุกที่เห็น
ภาพได้ชัด คณะพระธรรมทูตสายต่างประเทศชุดแรกของไทยอย่างเป็นทางการคือ พระธรรมทูตสาย
อินเดีย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จึงมีพัฒนาการงานเผยแผ่มากว่า ๕๐ ปี และจากการศึกษาพบว่า
พระธรรมทูตส่วนใหญ่ยังคงรักษาหลักการและเป้าหมายของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามที่
พระพุทธองค์ประทานไว้ให้ แต่ในส่วนของวิธีการด าเนินงานและการก าหนดกลุ่มเป้าหมายในการเผย
แผ่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยของสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมถึงทรรศนะของหัวหน้า
พระธรรมทูตในแต่ละรุ่น และยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ถึงผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายเดิมแท้ของการไป
เผยแผ่ยังประเทศอินเดียที่ต้องการน าพระพุทธศาสนากลับคืนให้แก่ชาวอินเดีย
๒๑
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าว พบว่า เป็นการศึกษาบทบาทของ
พระธรรมทูต คือ ผู้ที่ท าหน้าที่เป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนาในการเผยแผ่พระศาสนาด้วยการ
ประกาศหลักธรรมค าสอนทางพระพุทธศาสนา และท าคุณประโยชน์ให้กับวงการพระศาสนา โดยจะ
ท าหน้าที่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่ปฏิบัติงาน
๑๙ พระปรีชา พงษ์พัฒนะ, “การติดตามและประเมินผลโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
ศึกษาเฉพาะ: พระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา”, วิทยำนิพนธ์สังคมสงเครำะห์ศำสตรมหำบัณฑิต , (คณะสังคม
สังเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔), หน้า บทคัดย่อ.
๒๐ บัญชายุทธ นาคมุจลินท์, “รูปแบบการพัฒนาศาสนทายาทที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนา”,
วิทยำนิพนธ์พุทธศำสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า
บทคัดย่อ.
๒๑ กฤติยา วโรดม, พัฒนาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล”,
สำรนิพนธ์พุทธศำสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘), หน้า
บทคัดย่อ.