Page 77 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 77
บทที่ ๓
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
ในบทนี้ผู้วิจัยจะได้ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
ในประเด็นดังต่อไปนี้คือ
๓.๑ ความเป็นมาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศของประเทศไทย
๓.๒ ระเบียบปฏิบัติส าหรับพระธรรมทูตสายต่างประเทศในปัจจุบัน
๓.๓ นโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย
๓.๔ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
๓.๕ สถานการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
๓.๖ ปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
๓.๑ ความเป็นมาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศของประเทศไทย
เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช
ต่อมาเมื่อประเทศไทยรวบรวมดินแดนเป็นอาณาจักร จึงเริ่มรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจ า
ชาติตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา โดยมีการส่งพระสงฆ์ไทยไปศึกษาพระศาสนานอกราชอาณาจักร
และนิมนต์พระสงฆ์เข้ามาเผยแผ่พระศาสนาในราชอาณาจักร จนมาถึงสมัยอยุธยาเป็นราชธานี
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ได้ส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ เกาะลังกา
จนเกิดนิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ขึ้นในประเทศศรีลังกา
๑
๓.๑.๑ ความเป็นมาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
การส่งพระธรรมทูตไทยไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างประเทศ มีหลักฐานชัดเจนว่า เริ่มใน
สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (บางเล่มใช้ สมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ได้ส่งพระธรรมทูตเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ประเทศลังกา ๒ คณะ ได้แก่
ค ณ ะของพระอุบาลีและพ ร ะอริยมุนี และคณะของพระวิสุทธาจารย์และพระวรญาณมุนี
รวมระยะเวลาในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา (ศรีลังกา ในปัจจุบัน) ประมาณ ๗ ปี
จนท าให้เกิดนิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ขึ้นในประเทศศรีลังกา และในยุคกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราช
ธานี รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้ส่งคณะสงฆ์ไปที่ประเทศ
๑ พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิต าโณ), ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร:
มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘), หน้า ๔๑๖-๔๑๗.