Page 160 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 160
154
2. บริษัทจํากัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินเด!
3. บริษัทจํากัดและนิติบุคคลที่มีสภาพ กฎหมายต่างประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินครบ
การยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เกดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับ
บริษัทจํากัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงิน
ได้ปิโตรเลียม
4. บริษทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษี
ซ้อน กับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กําหนดในอนุสัญญา
ฐำนภำษีของภำษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คํานวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคํานวณภาษีคูณด้วยอัตรา
ภาษีที่ กาหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่
กําไรสุทธิที่คํานวณตามเงื่อนไขที่กําหนด ดังนี้
1. กําไรสุทธิ
2. ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
3. เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
4. การจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย
นิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิต้องยื่นแบบแสดงรายการและชําระภาษี ดังนี้
1. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชําระภาษี (ถ้า
มี) ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรก ของรอบระยะเวลาบัญชี
2. การเสียภาษีเงินได้จากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องยื่นแบบแสดงรายกา
ร พร้อมชําระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบ กิจการในรูป
ของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หาก มีรายรับจาก
การขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคํานวณ
ภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร