Page 86 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 86
80
เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการลงทุนของกองทุนซึ่งส่งผลให้ กบข. มีกระบวนการ
ตัดสินใจ ลงทุนที่มีความรอบคอบ มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ ควบคู่ไปกับการพิจารณาถึงผลตอบแทนจาก
การ ลงทุนที่คุ้มค่าเหมาะสม และมีกระบวนการติดตามประเมินสถานการณ์การลงทุนของตลาดการลงทุน อย่าง
ใกล้ชิด ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกอย่างแท้จริง
2.3 กองทุนเพื่อกำรเลี้ยงชีพ เป็นทางเลือกอิสระของผู้ที่ไม่มีการลงทุนในกองทุนสํารองเลี้ยง
ชีพ เช่น ทนายความ แพทย์ หรือผู้ที่มีการลงทุนในกองทุนประเภทนี้อยู่แล้วที่อยากจะซื้อเพิ่มเติม
กำรลงทุนผู้ประกอบธุรกิจ
การลงทุนประกอบธุรกิจ หมายถึง การนําเงินมาลงทุนเพื่อ ประกอบการให้เกิดผลผลิตเป็น
สินค้า หรือบริการและอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ผู้ที่ลงทุนก็จะได้รับรายได้คือกําไรจากการขายสินค้าหรือ
บริการ
ลักษณะการลงทุน แบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1. การลงทุนของผู้บริโภค เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจโดยไม่หวังกําไร อาจจะเป็น
การซื้อสินค้า ได้แก่ โทรทัศน์ พัดลม เครื่องประดับ เสื้อผ้า เป็นต้น
2. การลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมผู้ลงทุนหวังกําไรเป็นสําคัญ ถือได้ว่ากําไรเป็นสิ่งจูงใจให้
ลงทุน โดยนําเงิน/หลักทรัพย์/กู้เงินมาลงทุน การลงทุนชนิดนี้ก่อให้เกิดผลดีในทางเศรษฐกิจในประเทศ
3. การลงทุนในทางการเงิน เป็นการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ เช่น หุ้นกู้ การซื้อหุ้นกู้ การซื้อ
ขายที่ดินเพื่อหวังกําไรและซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การลงทุนชนิดนี้มีการเสี่ยงอยู่มากพอสมควร บางครั้งก็
ได้กําไรจากการลงทุน แต่บางครั้งก็ขาดทุน ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ธ ร กิจ หมายถึง กระบวนการของธุรกิจนับตั้งแต่การผลิต การจําหน่ายสินค้า และบริการตาม
ความต้องการของผู้บริโภค โดยได้รับกําไรเป็นผลตอบแทน ซึ่งประกอบด้วย
1. การผลิต (Productions) หมายถึง การดําเนินกิจกรรมการผลิตวัตถุดิบและสินค้าสําเร็จรูป
เช่น การผลิตผลิตผลต่างๆ พืชไร่ ป่าไม้ เหมืองแร่ เป็นต้น
2. การจัดจําหน่าย (Distributions) หมายถึง การดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการขายสินค้า ทั้ง
สินค้าสําเร็จรูปจากผู้ผลิตให้ผู้บริโภคหรือสินค้ากึ่งสําเร็จรูปให้แก่ธุรกิจที่ทําการผลิตสินค้าสําเร็จรูป
3. การบริการ (Services) หมายถึง การดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ เช่น ธรกิจโรงแรม
กิจการขนส่งหรือการประกันภัย เป็นต้น