Page 106 - การเปนผประกอบการ
P. 106
100
1. รู้จักตน โดยประเมินว่าตนเองมีคุณสมบัติที่จะทําธุรกิจนั้นหรือไม่ เช่น มีความรู้ความสา
มาร มีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ ยอมรับความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น กล้านําเงินออมที่เก็บทั้งชีวิตมาลงทุน เป็น
ต้น และที่สําคัญต้องหนักแน่น จริงจัง และกล้าตัดสินใจ เช่น
1.1 การเลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเอง โดยดูจากความชอบ ความถนัด ความ
สนใจเป็นหลัก เพราะจะทําให้ผู้ประกอบการอยากแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทางธุรกิจอยู่เสมอ
1.2 สํารวจฐานะทางการเงินโดยดูว่าตนเองมีเพียงพอหรือไม่ การเงินควรจัดแบ่งออกเป็น
ส่วนๆ เช่น แบ่งไว้ใช้จ่ายในครอบครัว แบ่งฝากไว้กับธนาคารเพื่อใช้ในกรณีจําเป็นและแบ่งไว้สําหรับการออม
เพื่อ การลงทุน เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เมื่อจัดแบ่งเป็นส่วนต่างๆ แล้ว จะเห็นว่าตนเองมีเงินเพียงพอเพื่อ
ทําธุรกิจหรือไม่ หรือต้องหาจากแหล่ง
1.3 ทําเลที่ตั้ง เป็นส่วนสําคัญในการตัดสินใจเพราะเกี่ยวข้องกับการลงทุนสูง หาก
ผู้ประกอบการไม่มีที่ดิน หรืออาคารเป็นของตนเอง ถ้าจะใช้เงินลงทุนซื้อก็จะไม่คุ้มค่า
รู้ข้อมูลของลูกค้า ผู้ประกอบการควรสํารวจความต้องการสินค้าหรือบริการ ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะกับ
ลูกค้ากลุ่มใด เพื่อใช้เป็นแนวทางสําหรับการผลิตต่อไป
3. รู้ข้อมูลของคู่แข่ง ธุรกิจในปัจจุบันมีจํานวนมาก จําเป็นต้องทราบว่าคู่แข่งมีใครบ้าง อยู่ที่
ไหน กําลังทําอะไรอยู่ ธุรกิจจะแข่งขันอย่างไรเพื่อชัยชนะ จะผลิตสินค้าหรือให้บริการอย่างไรเพื่อเป็นจุดขายที่
เด่นกว่าของคู่แข่ง ศึกษาวิธีการขาย การตลาด การโฆษณา การกระจายสินค้า การส่งเสริมการตลาดหรือ การ
สนับสนุนการขาย และการให้บริการหลังการขายของคู่แข่งเป็นอย่างไร
4. รู้นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาล หาข้อมูลหรือแหล่งที่ให้การส่งเสริมการค้าให้เงินทุน
หรือ ให้บริการเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะกระทรวง กรม กองสถาบันการศึกษาใดก็ตาม เช่น กรม
ส่งเสริม การส่งออกสนับสนุนผู้ส่งออกไปจัดนิทรรศการในต่างประเทศ
5. วางแผนการเงินในระยะยาว ปัญหาทางการเงินเป็นสาเหตุที่ทําให้การดําเนินธุรกิจ
ผิดพลาด เนื่องจากกิจการขนาดเล็กจะขอเงินกู้ได้ยากกว่ากิจการขนาดใหญ่ เจ้าของกิจการที่ขอกู้เงินน้อย
เกินไป อาจจะปิดกิจการเร็วเพราะว่าไม่มีเงินทุนในการดําเนินกิจการ
6. การทําบัญชี ผู้ประกอบการจะต้องสนใจ “งบการเงิน” ในการดําเนินกิจการหรือ
บริหารงานต่างๆ จําเป็นจะต้องใช้ตัวเลขให้เป็น และไม่สามารถทําธุรกิจได้ถ้าไม่มีระบบบัญชีที่เหมาะสม เพื่อ
ใช้เป็นเครื่องมือ ในการบริหาร ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เป็นข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงของผู้ประกอบการได้ ถ้าทําให้
ระบบบัญชี่ง่าย ก็จะสามารถทําได้ด้วยเวลาและค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด นอกจากนั้นข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้อง
และสมบูรณ์ จะช่วยให้วางแผนการเจริญเติบโตของธุรกิจในอนาคตได้