Page 130 - การเปนผประกอบการ
P. 130

124









                        1. พยากรณ์การเคลื่อนไหวของเงินสด  โดยมีการวางแผนทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะ

          ยาว เพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินสดเพียงพอในการดําเนินกิจกรรมต่างๆ  และการลงทุน ถ้าหากไม่พอก็จะหาแหล่งกัน

           เงินขาดมือซึ่งจะก่อความเสียหายให้แก่ธุรกิจได้

                        2. การจัดหาเงินทุน โดยฝ่ายบริหารจะเลือกแหล่งกู้ยืมเงินที่เสียค่าใช้จ่ายต่ําที่สุด  และมี
          โอกาส ที่จะได้รับเงินสดได้ทันตามความต้องการ

                        3. การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นการจัดสรรว่าเงินสดที่มีหรือเงินทุนที่เปลี่ยนเป็นเงินสด

          ได้ ภายในรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงาน เช่น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือตามฤดูกาล ซึ่งแล้วแต่ชนิดและ

           ลักษณะของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือการเคลื่อนไหวในรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงานระยะสั้น

           และการเคลื่อนไหวในรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงานระยะยาว หรือการกําหนดเวลาที่ผู้เกี่ยวข้อง  จะ

          พิจารณาให้ใกล้เคียงกับสภาพการณ์ที่ควรเป็นของธุรกิจ

                        งบกำรเงินและงบประมำณ

                        รายได้บุคคล หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ  ในรอบปี ซึ่งอาจจะ

          ได้มาจากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน รายได้จากงานส่วนตัว โบนัส ค่านายหน้า ดอกเบี้ยเงินปันผล ผลที่ได้จาก
          เงินออมและการลงทุน การจําหน่ายสินทรัพย์ และรายได้อื่น ๆ ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วจะเป็น รายได้จริงที่จะได้

          ไม่ใช่รายได้ที่คาดว่าจะได้ และเป็นรายได้ก่อนหักภาษีเงินได้

                        ปัจจัยที่ก ำหนดรำยได้ของบุคคล

                        1. อายุ มีความสัมพันธ์ต่อการหารายได้ของบุคคล  บุคคลที่สูงวัยและหนุ่มสาวเมื่อเริ่มทํางาน

          ก็ จะมีรายได้ไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน  ซึ่งมีอายุระหว่าง 35- 55 ปี โดยทั่วไปในวัยนี้จะมี

           ความสามารถในการหารายได้สูง เนื่องจากอยู่ในวัยที่มีร่างกายแข็งแรงในการทํางาน

                        2. การศึกษา จะเป็นเครื่องกําหนดรายได้ของบุคคล ผู้ที่สําเร็จการศึกษาสูงย่อมมีรายได้สูง

          กว่า ผู้มีการศึกษาต่ําหรือไม่ได้รับการศึกษา

                        3. อาชีพการเลือกอาชีพมีความสัมพันธ์กับการศึกษาของบุคคลอาชีพบางอย่างจะต้องผ่าน
          การ ศึกษาเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ นักกฎหมาย สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น แต่บางอาชีพถึงแม้จะไม่เรียนมา

          โดยตรง ก็นําความรู้มาประยุกต์ใช้ทํางานได้

                        4. คุณสมบัติเฉพาะตัวบุคคลแต่ละคนจะแตกต่างกันโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติ

          เฉพาะตัว เช่น ความสามารถ (Abilities) ความชํานาญ (Skills) บุคลิกภาพ (Personality) แรงกระตุ้น (Drive)
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135