Page 38 - การเปนผประกอบการ
P. 38

32








                          2.2 แบบตลอดชีพ คือการประกันชีวิตที่บริษัทรับประกันสัญญาว่าจะจ่ายเงินตามจํานวน

           ที่ เอาประกันให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญา เมื่อผู้เอาประกันถึงแก่กรรม โดยไม่คํานึงว่าการตายนั้นจะ

            เกิดขึ้นเมื่อใด ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันไปตลอดชีวิต  เบี้ยประกันแล้วแต่จะตกลงกัน

                              2.3 แบบสะสมทรัพย์ คือการประกันที่บริษัทสัญญาว่าจะจ่ายเงินที่เอาประกันให้กับ ผู้รับ

           ประโยชน์ ถ้าผู้เอาประกันถึงแก่กรรมในเวลาที่กําหนดไว้หรือจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันที่มีชีวิตอยู่  เมื่อสัญญา

           สิ้นผลบังคับ การประกันแบบนี้มีกําหนดเวลาของสัญญาแน่นอน เป็นการประกันที่มีลักษณะ ผสมระหว่าง

           การประกันชีวิตและการออม
                              2.4 แบบรำยได้ประจ ำ คือการประกันที่บริษัทประกันสัญญาว่าจะจ่ายเงินได้ประจํา

           จํานวน หนึ่งสําหรับเลี้ยงชีพให้แก่ผู้เอาประกันตลอดชีวิตหรือระยะเวลาหนึ่ง  โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกัน

           ไม่ สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ เงินได้ประจําอาจจะจ่ายเป็นงวดรายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้

            แล้วแต่จะตกลงกัน โดยผู้เอาประกันต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันให้แก่บริษัทประกันชีวิตตามสัญญา  การ

            ประกันชีวิตแบบนี้จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันเอง  ผู้รับประโยชน์จึงได้แก่ผู้เอาประกันโดยตรง เป็น

           การออมทรัพย์อีกแบบหนึ่ง โดยผู้ที่เอาประกันจ่ายค่าเบี้ยประกันสะสมไว้กับบริษัทประกัน เพื่อจ่ายเป็น

           รายได้ให้กับตนเองในอนาคต

                           3. กำรออมทรัพย์กับสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์รับฝากเงินจาก

            สมาชิกและให้สมาชิกกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย  ซึ่งไม่ได้คํานึงผลกําไร แต่จะนําผลกําไรจากการดําเนินงานมา
            แบ่งปันให้สมาชิกตามมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่  ซึ่งการดําเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับทุนมาจากการถือหุ้น

           ของสมาชิกเป็นรายเดือน การรับฝากเงินจากสมาชิกในรูปของเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจํา  เงินทุน

           ของสหกรณ์ออมทรัพย์จะนําไปให้สมาชิกกู้ยืมหรือนําไปฝากสถาบันการเงินอื่น  เพื่อหารายได้ซึ่งรายได้ ของ

           สหกรณ์จะมาจากดอกเบี้ยของเงินกู้ยืม  ดอกเบี้ยเงินฝาก

                          4. กำรซื้อพันธบัตรรัฐบำล “พันธบัตร” คือ ตราสารที่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และสถาบัน
           การเงินที่ มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออกโดยให้คํามั่นสัญญาว่าผู้ถือจะได้รับชําระต้นเงินตามพันธบัตรคืน

           ภายในเวลา ที่กําหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราที่กําหนด  การซื้อพันธบัตรรัฐบาลมีความเสี่ยงน้อย  เพรา

           ะเป็นของ รัฐบาลและยังมีดอกเบี้ยที่สูงกว่าดอกเบี้ยธนาคาร

                          5. กองทุนส ำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นจากความ

            สมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อเป็นทุนทรัพย์ให้แก่พนักงานในกรณีที่เกษียณอาย  ออกจากงานและ

           เป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวของพนักงานในกรณีที่เสียชีวิต
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43