Page 40 - การเปนผประกอบการ
P. 40
34
วิธีที่ 1 พิจารณาจากเงินออมที่มีอยู่ในมือปัจจุบัน ซึ่งจะมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินได้ทั้งปี คูณด้วย
อายุในปัจจุบันของตนเอง
ตัวอย่าง ปัจจุบันนายชัชวี อายุ 45 ปี เงินเดือน เดือนละ 45,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้ต่อ
ปี ก็จะเท่ากับ 540,000 บาท
การคํานวณ. - นายชัชวีมีเงินออมอยู่ในมือ(45,000X12) = 540,000 บาท
อัตราเงินออม = 10%
อายุปัจจุบันของนายชัชวี = 45 ปี
ดังนั้น นายชัชวีจะมีเงินออมเมื่อเกษียณอายุ = (10/100) x
540,000 x 45
= 2,430,000 บาท
หมายเหตุ : นายชัชวีควรจะมีเงินออมเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้นทุกปี
วิธีที่ 2 พิจารณาจากเงินออมที่มี ณ วันที่เกษียณอายุ โดยให้นําจํานวนปีที่มีชีวิตอยู่หลัง เกษียณคูณด้วย
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน
ตัวอย่าง นายเกื้อเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี และคาดว่าหลังจากเกษียณจะมีชีวิตอยู่ต่อจนอายุ
ประมาณ 85 ปี ช่วงเวลา 25 ปีนี้จะเป็นช่วงที่นายเกื้อไม่มีรายได้ แต่มีค่าใช้จ่ายประจําวันและค่า
รักษาพยาบาล 20,000 บาท ต่อเดือน ให้คํานวณว่านายเกื้อต้องมีเงินเก็บไว้จํานวนเท่าใดหลังเกษียณ
หากในปัจจุบันยังใช้จ่ายเท่าเดิม
การคํานวณ .- นายเกื้อใช้จ่ายเดือนละ = 20,000 บาท
ผลต่างของช่วงอายุ (85-60) = 25 ปี
นายเกื้อจะต้องมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ = 20,000 x 12 x 25
= 10,000,000 บาท
หมายเหตุ : หากบุคคลใดที่มีร่างกายไม่แข็งแรง ก็อาจจะบวกเพิ่มเงินส่วนนี้เข้าไปอีกก็ได้
บทบำทของกำรวำงแผนเกษียณอำย
การวางแผนเกษียณอายุ มีเป้าหมายที่จะแสดงถึงความมั่นคงทางการเงิน ความสะดวกสบายและ
มาตรฐานการดํารงชีวิตที่ดีทั้งปัจจุบันและอนาคต ผู้ที่จะประสบความสําเร็จในชีวิตได้นั้นก็คือผู้ที่มีการ วางแผน
ไว้อย่างรอบคอบซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว