Page 51 - การเปนผประกอบการ
P. 51
45
2) สิทธิประโยชน์กรณีออกจากงาน ด้วยสาเหตุ
• ตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
• กรณีอื่นที่ไม่ใช่กรณีแรกแต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจํานวนในกองทุน
สํารองเลี้ยงชีพและต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบ
กําหนด เกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
• นายจ้างเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิ
เพื่อเสียภาษีตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย
• กองทุน ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ โดยผลประโยชน์จากการนําเงินไปลงทุน ทั้งในรูป
ของดอกเบี้ย เงินปันผล กําไรจากการขายหลักทรัพย์ และส่วนเกินทุน ไม่ต้องเสียภาษี
4. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544
โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการออมภาคสมัครใจให้กับลูกจ้างที่นายจ้างไม่มีกองทุนสํารอง เลี้ยงชีพหรือ
ลูกจ้างที่ต้องการจะออมเงินเพิ่มขึ้น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะเสนอกองทุนรวม ในแบบ
ความเสี่ยงต่างๆ กัน ผู้ลงทุนสามารถสับเปลี่ยนแผนการลงทุนจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่ง หรือ
จะเปลี่ยนไปที่ผู้จัดการกองทุนอื่นก็ได้ หากผู้ลงทุนนั้นจะไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนอายุครบ 55 ปี จะต้อง
เสียภาษี 5 ปี ก่อนวันไถ่ถอน
5. กองทุนการออมแห่งชาติ (National Savings Fund) เป็นระบบการออมแบบสมัครใจ และ
เลือกออมเป็นรายเดือนหรือรายงวดได้ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันยามชราภาพใน
รูปแบบบํานาญ สร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่ง
ผู้มี สิทธิเป็นสมาชิกจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ําว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี
บริบูรณ์ และไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใดๆ ที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง