Page 49 - การเปนผประกอบการ
P. 49
43
เงื่อนไขการเกิดสิทธิและประโยชน์ทดแทน
กรณีเลือกบํานาญ เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ
• เงินบํานาญ (จ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน) 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60
เดือนสุดท้าย
• เงินออมกับ กบข. (จ่ายจาก กบข.) เงินสะสม +เงินสมทบเงินชดเชย+เงินประเดิม+
ผลประโยชน์จากการลงทุน (เงินประเดิม จะจ่าย
ให้เฉพาะข้าราชการที่เลือกสมัครเป็น
สมาชิก กบข. ก่อน 27 มีนาคม 2540)
กรณีเลือกรับบําเหน็จ สูตรคํานวณบําเหน็จสําหรับสมาชิก กบข.
• เงินบําเหน็จ (จ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน) อัตราเงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ
• เงินออมกับ กบข. (จ่ายจาก กบข.) เงินสะสม + เงินสมทบ + ผลประโยชน์จากการ
ลงทุน
3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุน
สํารอง เลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (กระทรวงการคลัง) เป็นการออมภาคสมัครใจและออมร่วมกันระหว่าง
นายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ออมเงินไว้เพื่อการเกษียณ กองทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกจาก
นายจ้าง โดยทั้งนายจ้าง และลูกจ้างจะร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยตัวแทนจาก
นายจ้างและลูกจ้าง คณะกรรมการจะเลือกผู้จัดการกองทุน เงินสะสมจากลูกจ้างต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 2
ของเงินเดือน และไม่เกินร้อยละ 15
จดทะเบียนเพิ่มเติม ได้แก่
1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพสําหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ
2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพสําหรับลูกจ้างประจํา
3. กองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน
ลักษณะกองทุน เป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจ
ประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสมและเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างเมื่อ
เกษียณหรือออกจากงาน