Page 154 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 154
๑๕๕
การเบิกจ่ายค่าวัสดุและครุภัณฑ์
ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายดังต่อไปนี้
๑. รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพ
หรือไม่คงสภาพเดิม หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีราคาต่อหน่วย หรือต่อชุด ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท
รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องช าระพร้อมกัน เช่น ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น
๒. รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
๓. รายจ่ายเพื่อประกอบดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงครุภัณฑ์ที่มีวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท
ที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
๔. รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ที่มีวงเงิน
ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท
๕. รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบ ารุงรักษาทรัพย์สินเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
ค่าครุภัณฑ์ หมายถึง รายจ่ายดังต่อไปนี้
๑. รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อหน่วยหรือ ต่อชุดเกินกว่า
๕,๐๐๐ บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องช าระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น
๒. รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด เกินกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท
๓. รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงครุภัณฑ์ รวมทั้งครุภัณฑ์
คอมพิวเตอร์ที่มีวงเงินเกินกว่า ๕,๐๐๐ บาท
๔. รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบ ารุงรักษาโครงสร้างของครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักรกล
ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งไม่รวมถึงค่าซ่อมบ ารุงปกติหรือค่าซ่อมกลาง
๕. เพื่อ
การซื้อโดยวิธีตกลงราคา มี ๒ กรณี คือ
กรณีที่ ๑ ด าเนินการตามปกติ
กรณีที ๒ กรณีจ าเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจด าเนินการ
ตามปกติได้ทัน
ขั้นตอนการด าเนินการและเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
การจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคา กรณีด าเนินการตามปกติ มีขั้นตอนการด าเนินการ ดังนี้
๑. การเตรียมการ
๑.๑ ผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แจ้งความต้องการใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ ให้เจ้าหน้าที่
พัสดุทราบ
๑.๒ ตรวจสอบงบประมาณที่ได้รับตามแผนปฏิบัติราชการ
๑.๓ ตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะและราคามาตรฐานของวัสดุหรือครุภัณฑ์ที่ต้องการซื้อ
๒. การด าเนินการ
๒.๑ เจ้าหน้าที่พัสดุจัดท ารายงานขอซื้อ พร้อมเสนอแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ หรือ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เสนอต่อผู้อ านวยการโรงเรียน โดยผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อขอความ
เห็นชอบ
๒.๒ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการ
อย่างน้อย ๒ คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากพนักงานศาสนการด้านการศึกษา
คู่มือการปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา