Page 172 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 172
๑๗๓
การจัดหมวดหมู่และการก าหนดเลขที่บัญชี
๑. การจัดหมวดหมู่บัญชี
การจัดหมวดหมู่บัญชี คือการแบ่งบัญชีต่างๆออกเป็นประเภทๆ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และเพื่อความสะดวกในการบันทึกบัญชีอย่างมีหลักเกณฑ์
จากสมการบัญชีที่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ จะเห็นได้ว่าการจัดหมวดหมู่บัญชี
อย่างน้อยก็แบ่งออกเป็น ๓ หมวด คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ และในการด าเนินธุรกิจ
กิจการจะต้องมีรายได้ (Revenue) เกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลท าให้ส่วนของกิจการเพิ่มขึ้นและในทางตรงกันข้าม
หากกิจการมีค่าใช้จ่าย (Expenses) หรือมีการถอนใช้ส่วนตัว (Withdrawals) เกิดขึ้น ก็จะมีผลท าให้ส่วน
ของเจ้าของกิจการลดลง แต่เนื่องจากในการจัดท าบัญชีจะไม่นิยมน ารายได้และค่าใช้จ่ายไปบันทึกปนกับบัญชี
ส่วนของเจ้าของ คือบัญชีทุน ซึ่งเป็นบัญชีที่เปิดไว้ส าหรับบันทึกรายการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการถอนทุน
เท่านั้น แต่นิยมที่จะบันทึกไว้ต่างหากเพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนว่าในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ กิจการมีรายได้
และค่าใช้จ่ายเท่าใด และเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บัญชีทั้ง ๓ คือ ถอนใช้ส่วนตัว รายได้ และค่าใช้จ่ายที่
ถูกปิดไป ดังนั้น บัญชีทั้ง ๓ นี้ถือว่าเป็นบัญชีชั่วคราว (Temporary Account) การแยกหมวดหมู่บัญชี
จึงแบ่งออกเป็น ๕ หมวดหมู่ ดังนี้
หมวด ประเภทบัญชี
๑ สินทรัพย์
๒ หนี้สิน
๓ ส่วนของเจ้าของ
๔ รายได้
๕ ค่าใช้จ่าย
๒. การก าหนดเลขที่บัญชี
หลังจากที่แยกหมวดหมู่บัญชีเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไป คือ การก าหนดเลขที่บัญชี (Account
Numbers) เพื่อใช้ในการจัดเรียงบัญชีและใช้ในการอ้างอิง การก าหนดเลขที่บัญชี มีหลายแบบ ดังนี้
๑. แบบตัวเลขหรือตัวอักษรเรียงตามล าดับ เช่น
๑. บัญชีเงินสด
๒. บัญชีลูกหนี้
หรือ
A บัญชีเงินสด
B บัญชีลูกหนี้
๒. แบบตัวเลขผสมตัวอักษร เช่น
A – ๑๐๑ บัญชีเงินสด
B – ๑๑๐ บัญชีอุปกรณ์ส านักงาน
คู่มือการปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา