Page 280 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 280

๒๗๘


                  ๑. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในโรงเรียน
                         ๑.๑ การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในโรงเรียน

                         การปฏิรูปการศึกษารอบสอง มีความต้องการเน้น ๒ เรื่องหลัก คือ คุณภาพการศึกษาและโอกาส
                  ทางการศึกษา ซึ่งจะเน้นไปที่คุณภาพครู เพราะเป็นปัจจัยส าคัญไปสู่คุณภาพของผู้เรียน ซึ่งถือเป็นโอกาส
                  ทางการศึกษา ซึ่งถือเป็นตรรกะที่ชี้ชัดอยู่แล้วว่า คุณภาพของครูจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ เก่ง มีคุณธรรม

                  มีรากเหง้าของความเป็นไทย ขณะเดียวกันจะให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย
                  เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาและผลักดันการศึกษา การเรียนรู้ไปจนตลอดชีวิตของเราในสังคมข้างนอก
                  ซึ่งจะส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันของประชาชนในประเทศให้เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้การปฏิรูป
                  การศึกษารอบสอง จะต้องท าให้เด็กของเราเป็นคนเก่ง ดี มีความสุข แนวความคิดปฏิรูปการศึกษาจึงจะต้อง

                  ปรับเปลี่ยนใหม่ ไม่ใช่ถูกก าหนดโดยเอาแต่ตามตัวบทกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ก าหนด
                  ชัดเจนมานานว่าต้องเน้นผู้เรียนเป็นหลัก (Student Center) มีครูเป็นผู้อ านวยให้เกิดความรู้ (Facilitator)
                  น าหลักเรื่องการศึกษาของทุกคน และทุกคนเพื่อการศึกษา (Education for all-All education) เพื่อให้
                  ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชาติ แต่ยังมีปัจจัยส าคัญที่ต้องน ามาพิจารณาอีกมาก เช่น

                  คุณลักษณะประจ าชาติของคนไทย (National  characteristics)  และกระบวนทัศน์ในกระแสหลัก
                  โลกาภิวัฒน์ (Globalization  –  main  streams)  ล้วนเป็นองค์ประกอบส าคัญของการปฏิรูปการศึกษา
                  การปฏิรูปการศึกษาในระบบ (Formal Education) ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ใส่เข้าไป   (In-put) ส าหรับผู้เรียน
                  และกระบวนการในการจัดการศึกษาระบบนี้เอง คือ สิ่งที่อบรม    สั่งสอน (Imposition  Oriented

                  Approach)  ให้กับผู้เรียน กระบวนการเหล่านี้จะหล่อหลอมเด็กให้มีคุณลักษณะประจ าชาติ อัตลักษณ์
                  ของความเป็นชาติ (Out-put)  จะเป็นลักษณะพึงประสงค์ของความเป็นคนไทยอย่างที่คาดหวัง ดังนั้น
                  จึงมีแนวคิดใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วน

                  ร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา ๔ ประการ ดังนี้
                         ประการที่หนึ่ง คือ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ เด็กไทยและคนไทยในอนาคต เป็นคนเก่ง ดี
                  มีความสุข ด ารงรักษาความเป็นไทย และรู้เท่าทันกับสถานการณ์ของโลก
                         ประการที่สอง คือ การพัฒนาครูยุคใหม่ โครงการครูพันธุ์ใหม่ ด้วยกระบวนการผลิตการอบรม
                  ครูประจ าการให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้นให้มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู และเป็นวิชาชีพที่สูง

                         ประการที่สาม คือ การพัฒนาโรงเรียนและแหล่งความรู้ยุคใหม่ โดยโรงเรียน ทุกระดับและทุก
                  ประเภทต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ห้องสมุด
                  พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ส าหรับเด็กและประชาชน

                  ทั่วไป
                         ประการที่สี่ คือ การพัฒนาการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นเรื่องการกระจายอ านาจ เพื่อที่ให้
                  การบริหารโรงเรียนมีความคล่องตัวและเป็นอิสระมากที่สุดควบคู่ไปกับการเน้นธรรมาภิบาล
                         ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแนวทาง ๔ ประการให้ส าเร็จเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมาย ๓ ประการ คือ การ

                  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ และการส่งเสริมและการ
                  พัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
                         โรงเรียนต้องทบทวนการจัดระบบบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ ว่ามีความเหมาะสมกับองค์ภาระงาน
                  ความจ าเป็นของโรงเรียน เอื้อต่อการด าเนินงาน โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์วางแผน ก าหนดเป้าหมาย

                  ความส าเร็จอย่างชัดเจน บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้เรียน ครูผู้สอน
                  คณะกรรมการโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน มีการกระจายอ านาจอย่างสมดุลและคุณภาพได้รับการพัฒนา
                  จากการน าผล การวิเคราะห์วิจัยมาใช้ การจัดระบบสารสนเทศเน้นให้เกิดการบันทึก การเก็บและวิเคราะห์

                  คู่มือปฏิบัติงาน
                  โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285