Page 281 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 281

๒๗๙

                  ข้อมูลอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ มีความครอบคลุม และตรวจสอบได้ น ามาใช้ในการตัดสินใจได้ โรงเรียน

                  อาจจะพัฒนาให้ทันสมัย เช่น พัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information
                  Systems: CBIS) ในโรงเรียน เป็นต้น


                         ๑.๒ แนวคิดและหลักการของระบบบริหารและสารสนเทศ
                                ระบบบริหารและสารสนเทศภายในโรงเรียน
                                ๑. แนวคิดและหลักการจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในโรงเรียน

                                การจัดระบบบริหารและสารสนเทศของโรงเรียน นับว่ามีความส าคัญและจ าเป็นอย่างยิ่ง
                  ในการด าเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพ
                  ของโรงเรียน เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ และครอบคลุมภารกิจด้านบริหารจัดการได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ โรงเรียนต้องมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษา ที่น าไปสู่คุณภาพของผู้เรียน รวมถึง
                  ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ ถูกต้อง สมบูรณ์ เป็นปัจจัยและสามารถเรียกใช้ข้อมูล

                  สารสนเทศได้ตลอดเวลา  โดยผู้บริหารโรงเรียนสามารถน าไปใช้ในการตัดสินใจด าเนินการต่าง ๆ ตามระบบ
                  การประกันคุณภาพภายในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                ในการด าเนินการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ

                  ส าหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน
                  ผู้ที่เกี่ยวข้องควรศึกษาแนวคิดและด าเนินการทั้งสองส่วนควบคู่กันไปในขณะเดียวกัน เพื่อให้มีความ
                  สอดคล้องและเกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพทั้ง
                  ภายในและภายนอก

                                โรงเรียนทุกแห่งมีความต้องการให้องค์กรบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่
                  ยอมรับของสังคม ต้องได้ด าเนินการ สร้างระบบ กลไกหรือกระบวนการในการบริหารจัดการศึกษาให้มี
                  คุณภาพได้มาตรฐานตามที่ก าหนด เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการประกันคุณภาพการศึกษา
                  สร้างความมั่นคงและหลักประกันต่อผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมว่าโรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้ตาม

                  แนวคิดและหลักการบริหารโรงเรียนให้ได้คุณภาพจึงมีความส าคัญต่อผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ที่จะน าองค์
                  ความรู้ไปใช้ในการวางระบบการบริหารโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม
                                ๒. ระบบสารสนเทศในโรงเรียน
                                ในโรงเรียนมีข้อมูลมากมายกระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่าง ๆ ตามภาระหน้าที่

                  ความรับผิดชอบของครู บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง หากไม่มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศให้เป็นระบบ
                  ระเบียบแล้ว จะเกิดความไม่สะดวกหรือเกิดความยุ่งยากในการน าไปใช้ หรือมีข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ตรงกับ
                  ความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

                  ขอน าเสนอความหมายของค าที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียน ดังนี้
                                  ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งอาจแสดงเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือ
                                    สัญลักษณ์ ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิ่งที่เก็บรวบรวมมาโดยยังไม่ผ่านการประมวลผล
                                    หรือการวิเคราะห์จัดท า จึงท าให้ส่วนมากไม่มีความหมายสมบูรณ์พอที่จะน าไปใช้

                                    ประกอบการตัดสินใจ ตัวอย่างของข้อมูล เช่น จ านวนห้องเรียน จ านวนนักเรียน
                                    น้ าหนัก ส่วนสูง เกรดเฉลี่ย คะแนนสอบ O-NET B-NET ผลการประเมินตัวชี้วัดตาม
                                    มาตรฐานหลักสูตรโรงเรียน เป็นต้น






                                                                                               คู่มือปฏิบัติงาน
                                                                           โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286