Page 10 - Bang rak111
P. 10
3
โครงสร้างรายวิชา
สรุปสาระส าคัญ
1. บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับบางรักศึกษาน่าเรียนรู้
1.1 ประวัติความเป็นมาของเขตบางรัก ที่มาของชื่อเขตมีการสันนิษฐานที่มาไว้หลาย
แบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อแรกที่ว่าบริเวณเขตบางรักนี้เคยมีคลองเล็ก ๆ ที่ไหลลงแม่น้้าเจ้าพระยา
และมีผู้พบซุงไม้รักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่า “บางรัก” หรืออีกกระแส
หนึ่งที่เชื่อว่าริมแม่น้้าเจ้าพระยาบริเวณนี้มีต้นรักขึ้นอยู่เป็นจ้านวนมากจนเป็นที่มาของชื่อบ้างก็ว่าชื่อ
บางรักนั้นมาจากโรงหมอหรือโรงพยาบาลในสมัยนั้นซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ส้าคัญของอ้าเภอ จึงได้ชื่อว่า
เป็น “อ้าเภอบางรักษ์” และเรียกเพี้ยนมาเป็น “บางรัก” อย่างในปัจจุบัน ส่วนที่มาสุดท้ายเชื่อกันว่า
เดิมเขตบางรักในอดีตเรียกกันว่าคลองบางขวางล่างใต้ เป็นย่านที่มีคนมากมายหลากหลายอาชีพทั้ง
กะลาสีลูกเรือฝรั่งต่างชาติอยู่รวมกัน เป็นแหล่งกินแหล่งเที่ยวที่มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นฆ่ากันตาย
บ่อยครั้ง ชาวบ้านในแถบนั้นจึงขอให้ใช้ชื่อที่เป็นมงคลเรียกย่านนี้ว่า “บางรัก” แทนชื่อเดิมบางรักใน
วันนี้ก็ถือเป็นชื่อที่เป็นมงคลเกี่ยวกับเรื่องความรัก จนท้าให้ในวันวาเลนไทน์ของทุกปี มักจะมีคนไปจด
ทะเบียนกันที่เขตบางรักมากเป็นพิเศษเพราะเชื่อกันว่าจะมีความรักสดชื่นสดใสเหมือนชื่อเขต
1.2 ความส้าคัญของเขตบางรักเขตบางรักเป็นเขตที่ทันสมัยแห่งแรกของ
กรุงเทพมหานครอาชีพส่วนใหญ่ในเขตบางรักจึงเป็นการประกอบธุรกิจทางการค้ากับชาวต่างประเทศมาก
ที่สุด เป็นแหล่งศูนย์รวมที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จึงท้าให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
ของชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น
1.3 สภาพภูมิศาสตร์ สังคมและเศรษฐกิจ ประชาชนในเขตบางรักมีลักษณะเป็นสังคม
เมืองประกอบธุรกิจที่ต้องแข่งขันกันเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เขตบางรักจัดเป็นเขตที่ร่้ารวยด้วย
ธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเกี่ยวกับเพชร อัญมณี เครื่องเงิน ศูนย์การค้า เป็นชุมชนค้าขาย
และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ส้าคัญของประเทศ
2. บทที่ 2 สถานที่ส้าคัญทางศาสนาของบางรักศึกษาน่าเรียนรู้
2.1 ประวัติของวัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี
อยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แต่เดิมในช่วงสมัยกรุงธนบุรี
และรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดนี้แต่เดิมชื่อว่า “วัดท่าเกวียน” เนื่องจากเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียน
ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาชาวบ้านก็พากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดตะเคียน”
สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่
การเดินทางโดยรถประจ้าทางสาย 135 และ 75และรถประจ้าทางปรับอากาศ ปอ.75 การเดินทางมี
ความสะดวก รถผ่านหลายสาย เป็นที่ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติจ้านวนมากที่เดินทางมาเที่ยวชม และ
ลักษณะเด่นของวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร คือ จิตรกรรมฝาผนังของ
วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่เขียนเรื่อง “ธุดงควัตร13 ” และการไปสืบ ทอด
พระพุทธศาสนาที่ลังกาแทนการเขียนเรื่องทศชาติชาดกหรือพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าของวัดอื่น
โดยน้าเอาศิลปะทางตะวันตกมาเขียนภาพแบบ 3 มิติ