Page 43 - 10 แนวทางพัฒนาเพื่อท้องถิ่นพึ่งพาตนเอง (คู่มือปฏิบัติการ)
P. 43
หน้าที่ 42
8. ฝายในล าน้ าแกนซอยซีเมนต์ (แบบรักษาสภาพแวดล้อม เก็บกักน้ าบนดินและน้ าใต้ดิน)
ฝายบ้านท่าม่วง ต.ศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
วัตถุประสงค์
เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง แหล่งน้ าผิวดิน น้ าในล าห้วย ล าน้ า ต่างก็ลดระดับลงเรื่อย ๆ หลายแห่งถึงกับน้ าแห้งขอด
ท าให้ราษฎรในหลายพื้นที่เกิดความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการขาดแคลนน้ า ระดับน้ าในล าห้วยและล าน้ า
ต่างก็มีความเชื่อมโยงกับระดับน้ าในแหล่งน้ าใต้ดินใกล้เคียง และในชั้นน้ าใต้ดินก็จะหนุนน้ าในแหล่งน้ าบนผิวดินด้วย
ดังนั้น การสร้างฝายแกนซอยซีเมนต์เป็นช่วง ๆ ไปตามล าห้วยและล าน้ าเหมือนขั้นบันได โดยไม่ให้ขาด
ช่วงหรือมีช่วงใดแห้งขอด จึงเป็นส่วนส าคัญในการเชื่อมโยงกับแหล่งน้ าดังกล่าวข้างต้นด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับ
1) เป็นแหล่งน้ าดิบเพื่อใช้ในการท าน้ าประปา การอุปโภค-บริโภค ในช่วงฤดูแล้ง
2) เป็นแหล่งน้ าให้สัตว์เลี้ยงเพื่อให้ราษฎรน ามาเป็นอาหาร แก้ปัญหาปากท้องให้ผ่านพ้นช่วงในฤดูแล้งไป
ให้ได้
3) สร้างขวัญก าลังใจ สร้างงาน สร้างอาชีพ ท าให้ราษฎรไม่อพยพเข้าไปเพิ่มปัญหาแออัดภายในตัวเมือง
4) ในช่วงฤดูแล้งราษฎรสามารถใช้สันฝายเป็นทางสัญจรข้ามไปมาได้ทั้งสองฝั่ง ช่วยย่นระยะทางคมนาคม
ได้เป็น อย่างมาก
5) มีความมั่นคงใช้ประโยชน์ได้นานปีซ่อมแซมบ ารุงรักษาง่าย ประหยัดเงินงบประมาณแผ่นดิน
6) สามารถน าน้ าขึ้นมาเติมสระน้ า เพื่อรอจ่ายน้ าเข้าสู่แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างยั่งยืนต่อไป
7) เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพราะไม่มีส่วนประกอบที่ท าให้เกิดผลกระทบทางด้าน
มลภาวะ
8) สันฝายมีความสูงไม่เกิน 2 ม. เพื่อยกระดับน้ าเป็นช่วง ๆตามลักษณะของภูมิประเทศ จึงไม่เป็นสิ่งกีด
ขวางทางน้ าไหลแต่อย่างใด
9) เป็นการรักษาสภาพของล าน้ าอย่างแท้จริงเนื่องจากมีฝายฯเก็บกักน้ าในล าน้ าเป็นช่วง ๆ จึงไม่มีช่วงใดที่
แห้งขอด
10) เมื่อมีฝายเก็บกักน้ าเป็นช่วง ๆ การบริหารจัดการน้ าในล าน้ า ท าได้ง่าย ประหยัดน้ า หวังผลได้แน่นอน