Page 6 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 6
บทที่ ๑
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปัตตานี
หลักฐานเอกสารโบราณปรากฏนามเมืองหรือ
รัฐส าคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียงตามส า
เนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย
(ภาษาจีน) ลังคาโศกะอิลังคาโศกะ (ภาษาสันสกฤต
ภาษาทมิฬ) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา) ลังคะศุกา (ภาษา
อาหรับ) ลังกะสุกะ สังกาสุกะ (ภาษามลายู)
โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อ
เมืองเดียวกันที่น่าจะเคยตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ประเทศ
สหพันธรัฐมาเลเซียและจังหวัดป๎ตตานี ในป๎จจุบัน
นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่า
ป๎ตตานีเป็นที่แวะพักจอดเรือเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อ- ขาย
สินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้า
ชาวจีนทางตะวันออกและชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและ
หมู่เกาะใกล้เคียงต่างๆ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเดิมป๎ตตานี
เป็นอาณาจักรที่เก่าแก่และมีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
เนื่องจากมีหลักฐานทางโบราณคดีว่าบริเวณอ าเภอยะ
รังมีซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกัน
ถึง ๓ เมือง มีซากโบราณสถานและศาสนสถานหลาย
แห่ง นอกจากนี้ยังค้นพบโบราณวัตถุจ านวนมากโดย
วัตถุบางชิ้นมีตัวอักษร
ซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษร
ป๎ลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็นคาถาใน
พุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์และ
เศษภาชนะดินเผาที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒
- ๑๓ สอดคล้องกับจดหมายเหตุจีนที่ได้กล่าวถึงไว้
นอกจากนั้นหลักฐานที่ได้ขุดค้นพบยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่ตั้งอ าเภอยะรังในป๎จจุบันเป็นชุมชนที่มี
ความเจริญรุ่งเรืองในอดีตและต่อมาได้ย้ายเมืองป๎ตตานีมาบริเวณบ้านกรือเซะสันนิษฐานว่าเกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ท า ให้เมืองเดิมไม่เหมาะในการเป็นเมืองท่าการค้า
เมืองป๎ตตานีได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝุายใต้ปลายแหลมมลายูที่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของ
กรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑–๒๐๓๑) เป็นต้นมา จนในปีพ.ศ. ๒๐๕๔
โปรตุเกสยึดครองมะละกาได้ส าเร็จและพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบสมุทร
มลายูประกอบกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔ – ๒๐๗๒) ทรงยินยอมให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานี
การค้าในเมืองชายฝ๎่งทะเล เช่น นครศรีธรรมราช มะริด ตะนาวศรีและป๎ตตานี ท าให้ป๎ตตานีกลายเป็นเมือง
ท่าหลักเมืองหนึ่งแม้ว่าป๎ตตานีจะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาแต่ด้วยเหตุที่เป็นเมืองที่มีความ
เจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจท าให้เจ้าเมืองป๎ตตานีต้องการความเป็นอิสระและท าการแข็งเมืองอยู่บ่อยครั้ง
สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑ 1