Page 7 - Merged-๒๐๑๘๑๑๐๙-๑๕๕๘๑๒
P. 7
เมื่อมีโอกาส
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองโบราณยะรังทราบว่า แต่เดิมชาวเมืองป๎ตตานีนับถือศาสนา
พุทธและพราหมณ์และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามหลังจากที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอ านาจ โดยได้รับ
อิทธิพลจากราชวงศ์มัชปาหิตในชวาที่แผ่อ านาจเข้ามาสู่แหลมมลายูก่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเมือง
และด้านเศรษฐกิจท าให้การค้าในภูมิภาคเข้มแข็งและส่งผลให้ศาสนาอิสลามมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น
นอกจากนี้ มีการก่อสร้างมัสยิดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจที่ส าคัญคือ มัสยิดกรือเซะและมัสยิดบ้านดาโต๊ะ
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟูาจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒) ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยกทัพหลวงมาปราบปรามพม่าที่มาตีหัวเมืองทางแหลมมลายู
จนเรียบร้อยและในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จลงไปประทับที่เมืองสงขลาได้มีกระแสรับสั่ง
ออกไปยังหัวเมืองป๎ตตานี เมืองไทรบุรีและเมืองตรังกานูให้มายอมเป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม แต่สุลต่านมูฮัมหมัด
พระยาป๎ตตานีในขณะนั้นขัดขืนกรมพระราชวังบวรฯ จึงมีรับสั่งให้พระยากลาโหมยกกองทัพไปตีเมือง
ป๎ตตานี ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ โดยได้กวาดต้อนครอบครัวและศาสตราวุธมาเป็นจ านวนมาก รวมทั้งปืนใหญ่
๒ กระบอก แต่สามารถน ามาได้เพียงกระบอกเดียวจึงน าขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด
ฟูาจุฬาโลกและทรงโปรดเกล้าฯ ให้จารึกชื่อปืน “พญาตานี” นับว่าเป็นปืนใหญ่กระบอกใหญ่ที่สุดของ
ประเทศไทย ป๎จจุบันตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒ – ๒๓๖๗) เกิดความไม่สงบ
บ่อยครั้งจึงโปรดเกล้าฯ ให้มีผู้ก ากับดูแลหัวเมืองมลายู โดยแบ่งเมืองตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง ประกอบด้วย
เมืองป๎ตตานี เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมือง ระแงะ เมืองรามันห์และเมืองยะลา ต่อมาในรัช
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองแบบจตุสดมภ์
(เวียง วัง คลัง นา) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นต้นมา โดยจัดการปกครองแบบ ๑๒ กระทรวง มี
กระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงการแผ่นดินได้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล โดยจัดแบ่งเป็น
มณฑลทรงใช้นโยบายประนีประนอมและด าเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการ
ปกครองของเจ้าเมืองทั้ง ๗ หัวเมือง ประกอบด้วย ป๎ตตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ระแงะ รามันห์ และ
ยะลา ซึ่งขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราชมีข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเป็นผู้ว่าราชการเมืองดูแล ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๔๔๙ ได้แยกหัวเมืองทั้ง ๗ ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราชมาตั้งเป็นมณฑลป๎ตตานีพร้อมทั้งเปลี่ยน
ฐานะเมืองเป็นอ าเภอและจังหวัด ได้แก่
จังหวัดป๎ตตานี รวมเมืองหนองจิกและเมืองยะหริ่ง
จังหวัดสายบุรี รวมเมืองระแงะ
จังหวัดยะลา รวมเมืองรามันห์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตกต่ าภายหลัง
จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลจ าเป็นต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษา
เสถียรภาพทางการคลังของประเทศจึงให้ยุบเลิกมณฑลป๎ตตานีคงสภาพเป็นจังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็น
อ าเภอตะลุบัน (ภายหลังชื่ออ าเภอสายบุรี) และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรีคือระแงะและบาเจาะไป
ขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส
ที่มา : วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิป๎ญญาจังหวัดป๎ตตานี หน้า ๒๗ – ๓๓
ค าขวัญจังหวัด
"เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ า ชนน้อมน าศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ป๎ตตานีสันติสุขแดนใต้"
สรุปผลการด าเนินงานของส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ประจ าปี ๒๕๖๑ 2