Page 13 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 13

โรค แต่เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจาก จะซื้อสิ่งที่จ าเป็นแล้ว ยังสามารถซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยได้อีกด้วย เช่น

               โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ตบัตรชมคอนเสิร์ต


                       2. รสนิยมของผู้บริโภค รสนิยมเป็นความพอใจเฉพาะบุคคล เฉพาะสังคมที่มีต่อสินค้าและบริการ

               ในช่วงระยะเวลานั้นๆ เช่น ปัจจุบันสบู่ก้อนและครีมอาบน้ ามีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อหา แม้จะมีคุณสมบัติ

               ใช้ท าความสะอาดร่างกายเหมือนกัน แต่เนื่องจากผู้บริโภคมีรสนิยมต่างกัน ความต้องการในตัวสินค้าย่อม
               แตกต่างกันทั้งในด้านสี กลิ่น และรูปลักษณ์ของสินค้า


                       3. รำคำสินค้ำชนิดอื่นๆ การบริโภคสินค้าและบริการบางอย่างนั้นจะต้องมีสินค้าชนิดอื่นมาเกี่ยวข้อง

               ด้วย โดยทั่วไปในกรณีนี้จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สินค้าที่ใช้ทดแทนกันและสินค้าที่ใช้ประกอบกัน ในกรณีที่

               เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน เช่น เมื่อเนื้อหมูมีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะ หันไปซื้อเนื้อไก่หรือเนื้อปลาเพิ่มขึ้น

               เนื่องจากสามารถใช้ทดแทนกันได้ ส่วนกรณีที่เป็นสินค้าใช้ประกอบกัน เช่น กล้องถ่ายรูปกับฟิล์ม กาแฟกับ

               น้ าตาล เมื่อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงในด้านราคา ย่อมส่งผลกระทบต่อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่

               ต้องใช้ประกอบกัน เช่น เมื่อฟิล์มมีราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะซื้อฟิล์มลดลง ส่งผลให้ปริมาณความต้องการซื้อ

               กล้องถ่ายรูปที่ต้องใช้ฟิล์มลดลง

               กฎของอุปสงค์


                       ในทางเศรษฐศาสตร์พบว่าในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ อยู่คงที่เมื่อราคาสินค้าและบริการลดลง ปริมาณอุป

               สงค์ในการซื้อสินค้าและบริการจะสูงขึ้น และเมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ปริมาณอุปสงค์ในการซื้อสินค้า

               และบริการก็จะลดลง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของปริมาณอุปสงค์กับราคาของสินค้าและบริการว่ามี

               ความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งเรียกว่า “กฎของอุปสงค์”


                       อุปทำน


                       ความหมายของอุปทาน


                       อุปทาน หมายถึง ปริมาณของสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายยินดีผลิตหรือเสนอขาย ณ ราคา

               ต่างๆกัน ในเวลาใดเวลาหนึ่ง


                ปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อกำรก ำหนดอุปทำน

                       ปัจจัยราคาเป็นตัวก าหนดที่ส าคัญในการก าหนดปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการ

               กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าและบริการลดลง ความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการจะลดลง แต่ถ้าราคาสินค้า

               และบริการสูงขึ้น ความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการก็ย่อมสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อสมมุติที่ว่า

               ตัวก าหนดอื่นๆ นอกจากราคามิได้มีส่วนกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ในอุปทานของสินค้าแต่อย่างใด แต่ถ้า
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18