Page 12 - ชุดการสอนเศรษฐศาสตร์ นิภาทิพย์ ด่านพายุห์
P. 12
อุปสงค์
ความหมายของอุปสงค์
อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะซื้อและมีอ านาจที่จะซื้อ
สินค้าและบริการนั้น ณ ระดับราคาต่างๆ กันในเวลาใดเวลาหนึ่ง
โดยทั่วไปแล้วอุปสงค์หรือความต้องการซื้อ อาจได้รับการตอบสนองหรือไม่ได้รับก็ได้ ขึ้นอยู่กับ
ความสามารถและก าลังซื้อของแต่ละบุคคล เช่น นายเอกต้องการซื้อบ้านแต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อได้ ลักษณะ
เช่นนี้ถือเป็นเพียงความต้องการที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้านายเอกมีเงิน มากพอก็จะซื้อบ้านได้ตามต้องการ
กรณีนี้ถือเป็นความต้องการที่แท้จริง ซึ่งเรียกว่า “อุปสงค์” คือ ความต้องการที่มีความสามารถในการซื้อและมี
ความเต็มใจที่จะซื้อด้วย
สินค้าในตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อเพื่อตอบสนองรสนิยมของผู้บริโภค
ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกำรก ำหนดอุปสงค์
ราคาของสินค้าและบริการเป็นปัจจัยที่ส าคัญที่สุด ในการก าหนดปริมาณอุปสงค์ กล่าวคือ เมื่อราคา
สินค้าและบริการลดลง อุปสงค์ในการซื้อสินค้าและบริการจะสูงขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าและ บริการสูงขึ้นอุปสงค์
ในการซื้อสินค้าและบริการจะลดลง เช่น เมื่อส้มราคากิโลกรัมละ 30 บาท เด็กชายป้อมจะซื้อส้ม 1 กิโลกรัม
แต่เมื่อส้มราคาลดลงเหลือกิโลกรัมละ 20 บาท เด็กชายป้อมจะซื้อเพิ่มเป็น 2 กิโลกรัม นอกจากราคาของ
สินค้าและบริการแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพล ต่อการก าหนดอุปสงค์ของสินค้าและบริการ เช่น
1. รำยได้ของผู้บริโภค โดยปกติผู้บริโภคที่มีรายได้เพิ่มขึ้นมักจะมีปริมาณอุปสงค์ของ สินค้าและ
บริการเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อผู้บริโภคมีรายได้ลดลง ปริมาณอุปสงค์ของสินค้าและบริการ ย่อมลดลงด้วยหากสินค้า
นั้นเป็นสินค้าปกติ โดยอุปสงค์ของสินค้าและบริการมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกันกับรายได้ของผู้บริโภค ผู้
ที่มีรายได้น้อยมักจะซื้อสินค้าและบริการที่มีความ จ าเป็นต่อการบริโภคก่อน เช่น ซื้ออาหาร เสื้อผ้า ยารักษา