Page 41 - 9 วิชา
P. 41

บทพิสูจน์ของ ‘คนกับป่า’

                ใครที่คิดว่าคนอยู่ร่วมกับป่าไม่ได้ คงจะต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ หากได้สัมผัสกับโครงการพัฒนา
                ป่าไม้ ภูหินร่องกล้า ซึ่งน้อมน�าแนวพระราชด�าริเรื่องคนกับป่าของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ ตั้งแต่
                ปี พ.ศ.2552

                เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ขณะที่ประเทศไทยก�าลังตกอยู่ภายใต้กระแส การคืบคลานของลัทธิคอมมิวนิสต์
                ภูหินร่องกล้าคือสมรภูมิส�าคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์ซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่ถึง 3 จังหวัด คือ อ�าเภอนครไทย
                จังหวัดพิษณุโลก อ�าเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอ�าเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกทั้งด้วยสภาพ
                ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เต็มไปด้วยป่ารกชัฏ ท�าให้กลุ่มผู้ก่อการยึดพื้นที่นี้เป็นฐาน
                บัญชาการ ภายหลังเหตุการณ์คลี่คลายลง รัฐบาลในขณะนั้นประกาศใช้นโยบายการเมืองน�าการทหาร
                ผู้ก่อการจ�านวนมากตัดสินใจออกจากป่าเพื่อมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย สมรภูมิรบภูหินร่องกล้าจึงกลาย
                เป็นอดีต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งก�ากับดูแลเรื่องป่าไม้อยู่ จึงประกาศให้ที่นี่เป็นอุทยานแห่งชาติ
                ล�าดับที่ 48 ของไทย

                ทว่าถึงสถานการณ์บ้านเมืองจะสงบ แต่ปัญหาที่ภูหินร่องกล้ากลับยังไม่หมดไป เพราะชาวบ้านที่อยู่ใน
                ละแวกนี้เป็นชาวม้ง ยังชีพด้วยการปลูกฝิ่นกับกะหล�่าปลี จึงมักจะเข้าไปบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่าอยู่เสมอ
                สร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก บางครั้งลุกลามจนกลายเป็นความขัดแย้ง
                ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน ซึ่งแม้จะไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับสมัยก่อน แต่ก็เป็นโจทย์ส�าคัญที่ทาง
                การต้องเร่งด�าเนินการแก้ไข

                ด้วยเหตุนี้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้หยิบยกแนวทางพระราชด�าริมาเป็นฐานเพื่อแก้ไข
                ปัญหา โดยสนับสนุนให้ชาวบ้านเปลี่ยนมาปลูกพืชที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ทดแทนภูเขาหัวโล้นที่ถูก
                บุกรุกบนยอดดอย อย่าง กาแฟอราบิก้า และสตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 เพื่อน�าไปจ�าหน่ายแก่
                นักท่องเที่ยวที่มาชมความงามของทุ่งดอกกระดาษและดอกนางพญาเสือโคร่ง ขณะเดียวกันก็ยังปลูกฝัง
                แนวคิดเรื่องป่าไม้ สอนให้รู้จักวิธีดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการท�าแนวป้องกันไฟป่า
                การดูแลพันธุ์พืชสัตว์ป่า การดูแลแหล่งน�้าธรรมชาติ ฯลฯ ส่งผลให้ภูหินร่องกล้ากลับมาอุดมสมบูรณ์ใน
                ระยะเวลาไม่นาน

                และนี่คือเป็นบทพิสูจน์ว่า คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ หากมีกระบวนการจัดการที่เหมาะสม ดังเช่น
                พระราชด�าริอันยั่งยืนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานให้ชาวไทยยึดถือปฏิบัติมาตลอด 70 ปี






                                                 วิชา ๙ หน้า  ศาสตร์พระราชาจากต�ราของพ่อ  •  วิชาธรรมชาติสามัคคี    37
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46