Page 12 - Marketting_Neat00
P. 12
3.10 อุปนิสัยและรสนิยมของคนในชาติเช่นถ้ามีการออมมากก็จะไม่มีการกระตุ้นการบริโภค
ทางเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่ำมาก ส่งผลให้ GDP ต่ำ ภาวะเงินออมจึงสูงมาก
การซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค
ความหมายของ “ตลาด (Market) และ “การตลาด (Marketing)
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ จํากัดความหมายของตลาดไว้ดังนี้
ตลาด (ที่เป็นคํานาม) หมายถึง ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ
ตลาด (ที่ใช้ในกฎหมาย) หมายถึง สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า
ประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือ ของเสีย
ง่าย ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณ ซึ่งจัดไว้
สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราว หรือตาม
วันที่กําหนด
สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28 โดย นางวราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ให้ความหมายดังนี้
ตลาด (Market) หมายถึง สถานที่ที่เป็นชุมชนหรือเป็นที่ชุมนุมเพื่อซื้อและขายสินค้า ทั้งใน
รูปของวัตถุดิบและสินค้าสําเร็จรูปเป็นประจํา เป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด โดยที่ตั้งของตลาด
อาจมีเพียงที่เดียวหรือหลายที่ที่ตั้งอยู่ใกล้กันในบริเวณที่มีทําเลเหมาะสม เช่นเป็นศูนย์กลางของชุมชน
และเหมาะจะเป็นที่นัดพบ หรือเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วย
เหตุนี้เมื่อมีชุมชนอยู่ ณ ที่ใด ก็มักจะมีตลาดอยู่ ณ ที่นั้น ตลาดจึงมีมาแต่ครั้งโบราณในทุกสังคม
คําว่า ตลาด ในแนวคิดของนักการตลาดยังมีความหมายรวมถึง “บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ
องค์กรที่มีความจําเป็นและความต้องการในสินค้าหรือบริการซึ่งมีความสามารถหรือมีอํานาจใน การ
ตัดสินใจซื้อ”
William J. Stanton ได้ให้ความหมายของคําว่า การตลาด (Marketing) ไว้ดังนี้
การตลาด หมายถึง กิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด
5