Page 9 - Marketting_Neat00
P. 9

ลักษณะทั่วไปของการตลาด (The Nature of Marketing)
                               การตลาดมีความเกี่ยวข้องกับการดําเนินชีวิตของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมนุษย์มีความ

                       ต้องการและความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด พยายามเสาะแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นทั้งสินค้าและบริการ เช่น

                       ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า อาหาร ยารักษาโรค และการอํานวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อนํามา
                       ตอบสนองความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด

                       หรือการขายเพื่อให้ได้มาซึ่งกําไรสูงสุด และการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจสูงสุด ซึ่ง ต่างก็

                       ต้องอาศัยกิจกรรมทางการตลาดของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจด้วยกันทั้งสิ้น
                               อาจกล่าวได้ว่าผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคจะได้รับความพอใจจากการใช้สินค้าที่หาซื้อมา และองค์กร

                       ธุรกิจซึ่งเป็นผู้ขายจะได้รับผลตอบแทนจากการเสนอขายสินค้า ดังนั้นกิจกรรมของการตลาดที่ เกี่ยวข้อง

                       กับมนุษย์ มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ



                             การผลิต                      การจัดจ าหน่าย                    การบริโภค

                           (Production)                    (Distribution)                 (Consumption)


                                 1. การผลิต (Production) หมายถึง การนําปัจจัยการผลิตที่มีอย่างจํากัดมาผ่านกระบวนการ

                       ผลิต ซึ่งต้องอาศัยการผลิต การบริหาร การตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่เหมาะสม เพื่อให้ใช้ต้นทุน การ
                       ผลิตต่ำาสุดให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ดังนั้น การผลิตจึงเป็น การ

                       สร้างคุณค่าของสินค้าที่สามารถสนองตอบความต้องการของมนุษย์ (Utility)

                       ปัจจัยการผลิต คือ สิ่งต่าง ๆ ที่ต้องนํามาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการแต่ละชนิด ซึ่งจะ
                       แตกต่างกันไป นักเศรษฐศาสตร์ได้จัดกลุ่มปัจจัยการผลิตหลักๆ ไว้ 4 ประเภท ดังนี้

                                    1.1 ที่ดิน (Land) ซึ่งใช้เป็นที่ตั้งของอาคารโรงงานที่ทําการผลิตรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ในดิน

                       โดยผลตอบแทนของที่ดิน ได้แก่ ค่าเช่า (Rent)
                                    1.2 แรงงาน (Labour) หมายถึง ความคิดและกําลังกายของมนุษย์ได้นําไปใช้ในการผลิต โดย

                       มีผลตอบแทน คือ ค่าจ้าง (Wage or Salary)

                                    1.3 ทุน (Capital) ในความหมายทางเศรษฐีศาสตร์ หมายถึง สิ่งก่อสร้าง และเครื่องจักร
                       เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ทุนยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เงินทุน (Money Capital)

                       หมายถึง ปริมาณเงินตราที่เจ้าของเงินนําไปซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าจ้างค่าเช่า และดอกเบี้ยสินค้าประเภททุน

                       (Capital Goods) หมายถึง สิ่งก่อสร้างรวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ผลตอบแทน
                       จากเงินทุน คือ ดอกเบี้ย (Interest)








                                                                2
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14