Page 159 - Marketting_Neat00
P. 159

1.2 ระดับราคาสูงกว่าราคาตลาด (Above the Market Price) กิจการสามารถกําหนดราคา
                       ให้สูงกว่าคู่แข่งขันได้ เนื่องจากความเข้มแข็งของกิจการหรือมีข้อได้เปรียบในด้านต่าง ๆ ที่เหนือกว่า คู่

                       แข่งขัน เช่น ตราสินค้าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทําเลที่ตั้งของกิจการที่เหมาะสม นคลากร มีความ

                       ชํานาญ เป็นต้น
                              1.3 ระดับราคาต่ำกว่าราคาตลาด (Under the Market Price) เป็นนโยบายระดับราคาที่

                       กิจการ ขนาดเล็กนิยมนํามาใช้ เพื่อต้องการส่วนแบ่งทางการตลาดในปริมาณมาก ๆ และให้สินค้า

                       กระจาย ผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย
                             2. นโยบายราคาเดียว (One Price Policy) เป็นการกําหนดราคาสินค้าชนิดเดียวกัน สําหรับ ผู้

                       ซื้อทุกรายในราคาเดียวกันภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขที่เหมือนกัน เพื่อให้สะดวกต่อการขาย โดยตัด

                       ปัญหาในการเสนอราคา และการต่อรองราคา
                             3. นโยบายราคายืดหยุ่นได้ (Flexible Price Policy) เป็นการกําหนดราคาสินค้าสําหรับลูกค้า

                       ประเภทเดียวกัน ปริมาณเท่ากันในราคาที่แตกต่างกัน ราคาสินค้าจะถูกกําหนดให้สูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับ

                       ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ การกําหนดราคายืดหยุ่นได้นี้นิยมใช้กันมากสําหรับกิจการขนาดเล็ก
                       และสินค้าที่ล้าสมัยง่ายหรือไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งกิจการจําเป็นต้องมีส่วนลด หรือส่วนยอมให้กับผู้ที่ ซื้อ

                       สินค้าดังกล่าว

                              ประเภทของส่วนลดและส่วนยอมให้
                              ส่วนลด (Discounts) หมายถึง ส่วนที่กิจการลดหรือหักออกจากราคาที่กําหนดไว้ในรายการ

                       เนื่องจากผู้ซื้อได้ทําหน้าที่ทางการตลาดบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตหรือผู้ขาย ตามเงื่อนไข ที่

                       กําหนดไว้ ประเภทของส่วนลดมีดังนี้
                              1) ส่วนลดปริมาณ (Quantity Discounts) เป็นส่วนลดจากราคาเดิมที่กําหนดไว้เพื่อกระตุ้นให้

                       มีการ ซื้อในปริมาณที่มากขึ้น ส่วนลดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดหรือปริมาณการซื้อ มี 2 ลักษณะ

                       คือ ส่วนลดปริมาณแบบสะสมการสั่งซื้อในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง และแบบไม่สะสมการซื้อครั้งเดียว
                              2) ส่วนลดการค้า (Trade Discounts) เป็นส่วนที่กิจการลดให้กับคนกลางในระดับต่าง ๆ ของ

                       ช่องทางการจัดจําหน่าย เช่น ส่วนลดให้กับผู้ค้าส่ง 30% ส่วนลดให้กับผู้ค้าปลีก 20% เป็นต้น เพื่อให้คน

                       กลางทําหน้าที่ทางการตลาดบางอย่างให้กับผู้ผลิต
                              3) ส่วนลดเงินสด (Cash Discounts) เป็นส่วนที่กิจการลดให้กับผู้ซื้อสําหรับการจ่ายเงินชําระ

                       หนี้ ก่อนถึงวันครบกําหนดชําระหนี้ และไม่เกินช่วงระยะเวลาที่ให้ส่วนลดเงินสด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ซื้อ

                       ชําระหนี้ เร็วขึ้น การให้ส่วนลดเงินสดจะกําหนดรูปแบบเป็นลักษณะดังนี้








                                                              152
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164