Page 17 - กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
P. 17
14
เมื่อพืชได้รับความเข้มของแสงต ่ากว่าที่พืชต้องการพืชจะมีอัตราการสังเคราะห์แสง
ต ่าลง แต่อัตราการหายใจของพืชจะเท่าเดิม เมื่ออัตราการสังเคราะห์แสงลดต ่าลง จน
ท าให้อัตราการสร้างอาหารเท่ากับอัตราการใช้อาหารจากการหายใจ ในกรณีนี้จ านวน
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ตรึงไว้จะเท่ากับจ านวนคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา ที่
จุดนี้การแลกเปลี่ยนก๊าซมีค่าเป็นศูนย์ เป็นจุดซึ่งเรียกว่า Light หรือ CO2
Compensation point ซึ่งพืชจะไม่เจริญเติบโตแต่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าความ
เข้มของแสงต ่าลงกว่านี้อีกพืชจะขาดอาหารท าให้ตายไปในที่สุด แต่การเพิ่มความเข้ม
ของแสงมากขึ้นไม่ได้ท าให้อัตราการสังเคราะห์แสงสูงเสมอไปเพราะพืชมีจุดอิ่มตัว
แสง ซึ่งถ้าหากความเข้มของแสงเพิ่มไปอีกจะท าให้พืชใบไหม้ ซึ่งปกติพืช C4จะมี
ประสิทธิภาพในการใช้แสงดีกว่าพืช C3
- ความยาวของช่วงที่ได้รับแสง (Light Duration) เมื่อช่วงเวลาที่ได้รับแสง
ยาวนานขึ้น อัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นด้วย โดยเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความ
ยาวของวัน ดังนั้นการเร่งการเจริญเติบโตของพืชในเขตหนาวซึ่งในช่วงฤดูหนาวจะมี
วันที่สั้นจึงจ าเป็นต้องให้แสงเพิ่มกับพืชที่ปลูกในเรือนกระจก
- คุณภาพของแสง (Light quality) แสงแต่ละสีจะมีคุณภาพหรือขนาด
ของโฟตอนหรือพลังงานที่ไม่เท่ากัน จึงท าให้เกิดจากเคลื่อนย้ายอีเลคตรอนได้ไม่
เท่ากัน ขนาดของโฟตอนจะต้องพอดีกับโครงสร้างของโมเลกุลของคลอโรฟิ ลล์ ถ้า
หากไม่พอดีกันจะต้องมี Accessory pigment มาช่วยรับแสง โดยมีลักษณะ
เป็นแผงรับพลังงาน (Antenna system) แล้วส่งพลังงานต่อไปให้คลอโรฟิ ลล์เอ
ดังกล่าวมาแล้ว ในสภาพธรรมชาติ เช่น ในป่าหรือท้องทะเลลึก แสงที่พืชสามารถใช้
ประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงได้มักจะถูกกรองเอาไว้โดยต้นไม้ที่สูงกว่าหรือแสง
ดังกล่าวไม่สามารถส่องลงไปถึง พืชเหล่านี้มักจะได้รับแสงสีเขียวเท่านั้น พืช
เหล่านี้หลายชนิดจะพัฒนาระบบให้มีรงควัตถุซึ่งสามารถน าเอาพลังงานจากแสงสี
เขียวมาใช้ประโยชน์ได้