Page 81 - วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
P. 81
81
กิจกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น
ส ารวจและสืบค้นตามความสนใจ แล้วรวบรวมข้อมูลเพื่ออภิปรายร่วมกันว่า ในท้องถิ่นของผู้เรียน
มีความหลากหลายทางความหลากหลายของชนิด ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความหลากหลาย
ของระบบนิเวศ อย่างไรบ้าง เลือกศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น 1 ชนิด
• ในท้องถิ่นของผู้เรียนมีระบบนิเวศใดบ้าง
• ระบบนิเวศที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ส ารวจมีสิ่งมีชีวิตชนิดใดบ้าง พืชและสัตว์ชนิดใดที่พบมาก ผู้เรียนคิด
ว่าเหตุใดจึงพบสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นจ านวนมากในท้องถิ่น
• ตัวอย่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น 1 ชนิดที่ผู้เรียนศึกษาให้ข้อมูลที่
น่าสนใจอย่างไรบ้าง
จากกิจกรรมจ านวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ผู้เรียนส ารวจพบสะท้อนถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน
ท้องถิ่น ผู้เรียนทราบได้อย่างไรว่าสิ่งมีชีวิตใดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน และสิ่งมีชีวิตใดเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
การจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
อนุกรมวิธาน (Taxonomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาชีววิทยาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
ประโยชน์ของอนุกรมวิธาน
เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีจ านวนมาก แต่ละชนิดก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป จึงท าให้เกิดความไม่
สะดวกต่อการศึกษา จึงจ าเป็นต้องจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ซึ่งจะท าให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
คือ
1. เพื่อความสะดวกที่จะน ามาศึกษา
2. เพื่อสะดวกในการน ามาใช้ประโยชน์
3. เพื่อเป็นการฝึกทักษะในการจัดจ าแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่
หลักเกณฑ์ในการจัดจ าแนกหมวดหมู่
การจ าแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต มีทั้งการรวบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือน ๆ กัน หรือ
คล้ายกันเข้าไว้ในหมวดหมู่เดียวกัน และจ าแนกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะต่างกันออกไว้ต่างหมวดหมู่
ส าหรับการศึกษาในปัจจุบันได้อาศัยหลักฐานที่แสดงถึงความใกล้ชิดทางวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ มา
เป็นเกณฑ์ในการจัดจ าแนก ดังนี้
1. เปรียบเทียบโครงสร้างภายนอกและภายในว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยทั่วไป
จะใช้โครงสร้างที่เห็นเด่นชัดเป็นเกณฑ์ในการจัดจ าแนกออกเป็นพวก ๆ เช่น การมีระยาง หรือขาเป็นข้อ
ปล้อง มีขนเป็นเส้นเดียว หรือเป็นแผงแบบขนนก มีเกล็ด เส้น หรือ หนวด มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น