Page 24 - หนังสือหลักการเกษตรอินทรีย์
P. 24
~ 16 ~
บทที่ 2
หลักการเกษตรอินทรีย์
ความหมายและความสําคัญของเกษตรอินทรีย์
คําว่า “เกษตรอินทรีย์” อาจไม่สามารถสื่อสารความหมายของวิธีการทําเกษตรนี้ให้คนทุกระดับชั้นเข้าใจได้
ถ่องแท้ ในเบื้องต้น จึงอยากข้อทําความเข้าใจให้ถ่องแท้ในเบื้องต้นนี้“เกษตรอินทรีย์” ตามความหมายที่ปรากฏใน
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 948 หมายถึงร่างกายและจิตใจ สติปัญญา สิ่งมีชีวิต
ดังนั้นเกษตรอินทรีย์ถ้าแปลความหมายตรงๆ คือการทําเกษตรจากสิ่งมีชีวิต(ด้วยจิตวิญญาณและสติปัญญา)
เป็นเกษตรแบบธรรมชาติ(สมคิด ดิสสถาพร, 2521,เมษายน) สําหรับความหมายของเกษตรอินทรีย์ ตามที่คณะ
กรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ (2551หน้า 4 - 5) ได้รวบรวมไว้ดังนี้
1. นิยามของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ(International Federation Of Organic Agriculture
Movement,IFOAM) ได้ให้ความหมายของเกษตรอินทรีย์ ได้ว่าได้ให้ความหมายของเกษตรอินทรีย์ได้ว่า“ระบบ
การเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและนิเวศการเกษตร จึงลดการใช้ปัจจัยจาก
ภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี สังเคราะห์ เช่นปุ๋ย สารกําจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สําหรับสัตว์ แต่
ขณะเดียวกันก็ประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลัก
ทางเกษตรอินทรีย์ หลักการทางการเกษตรอินทรีย์ เป็นหลักสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไข ทางเศรษฐกิจ สังคม
ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
2. นิยามของสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) หมายถึง “ระบบการจัดการผลิต
ด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการ
ใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบสังเคราะห์และไม่ใช้พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปลง
พันธุกรรม หรือพันธุวิศวกรรม มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพ
การเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สําคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน”
3. นิยามของงานวิจัยของ ชนวน รัตนะวราหะ(2550) เกษตรอินทรีย์หมายถึง “ระบบหลักการเกษตรที่ใช้
หลักการความสมดุลทางนิเวศวิทยาของธรรมชาติ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตโดยผสมผสานกิจกรรมฝากหลากหลาย
ทางชีวภาพ ของพืช สัตว์ ปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้ ฯลฯ ได้เกิดการเกื้อกูลและหมุนเวียนใช้ในระบบนิเวศของไร่นาให้
เกิดประโยชน์สูงสุด หลีกเลี่ยงการใช้ปัจจัยที่นําเข้าจากฟาร์ม ปฏิเสธการใช้ที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี
สารกําจัดศัตรูพืช ฮอร์โมน สารปฏิชีวนะ ฯลฯ รวมทั้งไม่ใช้พันธุ์ที่ผ่านการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรม ทั้งนี้เพื่อให้
ผลผลิตที่เป็นอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ที่สะอาดและปลอดภัย ต่อสุขภาพของผู้บริโภค อนุรักษ์
และปรับปรุงสภาพแวดล้อมกับการเกษตร ไปพร้อมๆกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
สรุปเกษตรอินทรีย์ คือระบบการผลิตที่คํานึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและความ
หลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการจัดระบบจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สังเคราะห์ ไม่
ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารกําจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่างๆตลอดจนไม่ใช้พืช สัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม
แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวมซึ่งแตกต่าง
อย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ