Page 29 - หนังสือหลักการเกษตรอินทรีย์
P. 29

~ 21 ~

               มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Standards)

                      เกษตรอินทรีย์ คือระบบการผลิตที่คํานึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของ
               ทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์หลีกเลี่ยงการ

               ตัดต่อทางพันธุกรรมและการสร้างมลพิษในสภาพแวดล้อมโดยมุ่งเน้นการใช้อินทรียวัตถุ การพึ่งพาตนเองเพื่อให้ผลผลิต

               ที่ได้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทําให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมมาตรฐาน
               เกษตรอินทรีย์ถือเป็นมาตรฐานที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้ซื้อและผู้บริโภคอย่างมากโดยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ใน

               ปัจจุบันมีทั้งมาตรฐานของประเทศไทย และมาตรฐานต่างประเทศได้แก่ มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของกรมวิชาการ

               เกษตรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศ
               สหรัฐอเมริกา (National Organic Program: NOP)  มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศญี่ปุ่น (Japan  Organic

               Standard: JAS) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศจีน (China Organic Standard) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ

               สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาติ (IFOAM Organic Standard) เป็นต้น
                      สถาบันฯ ให้บริการฝึกอบรมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์การจัดทําคู่มือการผลิตและเอกสารประกอบการผลิต

               และให้คําแนะนําในการขอรับการรับรองจากหน่วยรับรองเกษตรอินทรีย์ด้วยทีมบุคลากรที่มีประสบการณ์กรณีที่
               ท่านมีการรวมกลุ่มเกษตรกรหรือเป็นบริษัทฯ ที่มีลูกไร่และประสงค์จะพัฒนาระบบการควบคุมภายในเพื่อการรับรอง

               แบบกลุ่ม สถาบันฯได้เปิดให้บริการด้านระบบการควบคุมภายใน (Internal Control System: ICS) เช่นกัน

                      มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย"ย่อมาจาก A.C.T.(Organic AgricultureCertification Thailand)
               หรือ มกท. เป็นตราของไทยเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของไทย เรียกว่า Certified  Organic  ซึ่งเป็นสมาชิกของ

               IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) หรือ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ
               ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์นี้จึงได้รับการรับรองระดับสากลด้วย  (http://www.vcharkarn.com/vblog/39272)

                     มกท. คือใคร

                     1.สํานักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ “มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์”  ซึ่งจด
               ทะเบียนมูลนิธิเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ.2544

                     2.ทําหน้าที่ตรวจสอบและให้การรับรอง ผลิตผลผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานของมกท.

                     3.เป็นสมาชิก “สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ” (International Federation of Organic Agriculture
               Movements – IFOAM) ซึ่งมีสมาชิกในประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลกเป็นหน่วยงานแรกในประเทศแถบ

               เอเชียที่ได้รับการรับรองระบบ (Accreditation) จาก IFOAM เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 โดยการดําเนินการ
               ของInternational Organic Accreditation Services.inc. (IOAS)ซึ่งทําให้ มกท.เป็นองค์กรให้บริการตรวจสอบ


               และรับรองเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับ สากล
                     มกท. มีความเป็นมาอย่างไร
                      พ.ศ. 2538  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก (Alternative Agricultural Network – AAN)  ซึ่งมาจาก

               แนวคิดเกษตรทางเลือก /ตลาดทางเลือก และการรวมตัวของเกษตรกรองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน
               ผู้บริโภคและร้านค้าเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันจัดตั้ง “สภามาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก”

               ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบเกษตรกรรมที่ลดการใช้สารเคมีและลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอก และร่าง

               “มาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมทางเลือก” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34