Page 41 - หนังสือหลักการเกษตรอินทรีย์
P. 41
~ 33 ~
หน้าตัดดินประกอบด้วยดินที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ เรียกว่า “ชั้นดิน” (Soil horizon) ชั้นดินบางชั้นอาจจะบาง
เพียง 2-3 มิลลิเมตร หรือหนากว่า 1 เมตร ก็ได้ เราสามารถจําแนกชั้นดินแต่ละชั้นจากสีและโครงสร้างของอนุภาค
ดินที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังสามารถใช้คุณสมบัติอื่นๆที่แตกต่างกันระหว่างดินชั้นบนและดินชั้นล่างได้อีกด้วยดิน
บางชั้นเกิดจากการพังทลายและถูกชะล้างโดยกระแสน้ําดินบางชั้นเกิดจากตะกอนทับถมกันนานหลายพันปีนัก
ปฐพีวิทยากําหนดชื่อของชั้นดินโดยใช้ลักษณะทางกายภาพ ดังนี้
ชั้นโอ (O Horizon)เป็นดินชั้นบนสุดมักมีสีคล้ําเนื่องจากประกอบด้วยอินทรียวัตถุ (Organic) หรือ ฮิวมัสซึ่ง
เป็นซากพืชซากสัตว์ ซึ่งทําให้เกิดความเป็นกรดดินชั้นโอส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ป่า ส่วนในพื้นที่การเกษตรจะไม่มีชั้น
โอในหน้าตัดดินเนื่องจากถูกไถพรวนไปหมด
ชั้นเอ (A Horizon)เป็นดินชั้นบน (Top soil) เป็นส่วนที่มีน้ําซึมผ่านดินชั้นเอส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินแร่
และอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้วอยู่ด้วยทําให้ดินมีสีเข้ม ในพื้นที่เกษตรกรรมดินชั้นเอจะถูกไถพรวนเมื่อมี
การย่อยสลายของรากพืชและมีการสะสมอินทรียวัตถุโดยปกติโครงสร้างของดินจะเป็นแบบก้อนกลม แต่ถ้าดินมีการ
อัดตัวกันแน่นโครงสร้างของดินในชั้นเอจะเป็นแบบแผ่น
ชั้นบี (B Horizon)เป็นชั้นดินล่าง (subsoil) เนื้อดินและโครงสร้างเป็นแบบก้อนเหลี่ยม หรือแท่งผลึก เกิด
จากการชะล้างแร่ธาตุต่างๆของสารละลายต่างๆ เคลื่อนตัวผ่านชั้นเอ ลงมามาสะสมในชั้นบี ในเขตภูมิอากาศชื้นดิน
ในชั้นบีส่วนใหญ่จะมีสีน้ําตาลปนแดง เนื่องจากการสะสมตัวของเหล็กออกไซด์
ชั้นซี (C Horizon)เกิดจากการผุพังของหินกําเนิดดิน (Parent rock) ไม่มีการตกตะกอนของวัสดุดินจากการ
ชะล้างและไม่มีการสะสมของอินทรียวัตถุ
ชั้นอาร์ (R Horizon)เป็นชั้นของวัตถุต้นกําเนิดดิน หรือ หินพื้น (Bedrock)
เนื้อดิน (Soil Texture)
เนื้อดิน หมายถึง องค์ประกอบเชิงกายภาพของดินเราจะสังเกตได้ว่า ดินในแต่ละสถานที่มีลักษณะแตกต่าง
กันเนื่องจากดินประกอบขึ้นจากของอนุภาคตะกอนหลาย ๆ ขนาดอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดคืออนุภาคทราย (Sand)
อนุภาคขนาดรองลงมาคือ อนุภาคทรายแป้ง (Silt) และอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ อนุภาคดินเหนียว (Clay)ดัง
ภาพที่ 5
ภาพที่ 5 อนุภาคของดิน
ดินมีหลายชนิด เช่น ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียวขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาคของตะกอนที่ผสมกันเป็นดิน อาทิ
เช่น ดินทรายมีเนื้อหยาบเนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคขนาดใหญ่เช่นเม็ดทรายซึ่งมีขนาดใหญ่จึงมีช่องว่างให้น้ําซึม