Page 81 - หนังสือหลักการเกษตรอินทรีย์
P. 81
~ 73 ~
2.1 ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนตามเป้าหมาย
2.2 เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาถูกหรือแพงจนเกินไป
2.3 เพื่อรักษาหรือปรับปรุงส่วนแบ่งของการตลาด กล่าวคือตั้งราคาขายส่งถูกกว่าราคาขายปลีก
เพื่อให้ผู้รับซื้อไปจําหน่ายปลีกจะได้บวกกําไรได้ด้วย
2.4 เพื่อการแข่งขันหรือปกป้องคู่แข่งขันหรือผู้ผลิตรายอื่น
2.5 เพื่อผลกําไรสูงสุด
การกําหนดราคาขาย มีหลักสําคัญคือ ราคาต้นทุน+ กําไรที่ต้องการ ดังนั้นจึงจําเป็นต้องศึกษาเรื่องราวการคิด
ราคาต้นทุนให้เข้าใจก่อน
การคิดราคาต้นทุน หมายถึงการคิดคํานวณราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีค่าแรง ค่าใช้จ่ายในการผลิต
ประกอบด้วยค่าเช่าสถานที่ ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง ฯลฯ การคิดราคาต้นทุน มีประโยชน์คือ
1. สามารถตั้งราคาขายได้โดยรู้ว่าจะได้กําไรเท่าไร
2. สามารถรู้ว่ารายการใดที่ก่อให้เกิดต้นทุนสูง หากต้องการต้นทุนสูงมาก ก็สามารถลดต้นทุนนั้นๆลง
ได้
3. รู้ถึงการลดต้นทุน ในการผลิตแล้ว นําไปปรับปรุงและวางแผนการผลิตเพิ่มขึ้น ประเภทของต้นทุน
การผลิต แบ่งออกได้ 2 ประเภท
3.1 ต้นทุนทางตรง หมายถึงต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบรวมทั้งค่าขนส่ง
3.2 ต้นทุนทางอ้อม หมายถึงต้นทุนที่จ่ายเป็นค่าบริการต่างๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้า
ค่าเชื้อเพลิง ทั้งนี้ให้คิดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตโดยตรง แล้วนําต้นทุนทั้ง 2 อย่าง มาคิดรวมกันก็จะได้เป็น
ราคาต้นทุนรวม สรุปการกําหนดราคาขาย จะต้องคํานึงถึง
1. ต้นทุนทางตรง + ต้นทุนทางอ้อม คือต้นทุนรวม
2. การหากําไรที่เหมาะสม ทําได้โดยเพิ่มต้นทุนรวมขึ้นอีก 20 %
ตัวอย่าง ต้นทุนรวมในการทําดอกไม้จากกระดาษสา 500 บาท
บวกกําไร 30% ของ 500 จะได้ = 150 บาท
ฉะนั้น ราคาขาย คือต้นต้น + กําไร
คือ 500 + 150 เท่ากับ 650 บาท
โดยทั่วไปร้านค้าขายปลีกจะกําหนดราคาขาย โดยบวกกําไรที่ต้องการเข้ากับราคานต้นทุนการผลิตสินค้า
นั้นๆ แต้บางรายก็กําหนดราคาสูง สําหรับการผลิตระยะเริ่มแรก เพราะความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง ในระยะ
อันสั้น การเปลี่ยนแปลงราคาขายอาจมีผลทําให้ยอลดลงหรือเพิ่มขึ้นแล้วแต่ภาวะแดล้อม จึงต้องคํานึงเช่นกัน จึง
สามารถคิดราคาขาย ได้ง่ายๆ ดังนี้ ราคาขาย = ราคาทุน(ต้นทุน + ค่าแรง) + กําไรที่ต้องการ