Page 40 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 40

29








                                    มนุษย์เป็น อินทรีย์พลวัต (Dynamic Organism) หมายถึง ร่างกายที่มีความเปลี่ยนแปลง

                       อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะดิ้นรนแสวงหาสิ่งต่างๆมาตอบสนองต่อความต้องการหรือความอยากต่างๆที่ไม่

                       มีที่สิ้นสุด ตัณหาหรือความอยากนี้เอง ท าให้คนต้องดิ้นรนพยายามท าทุกอย่างให้ได้มาตามแรง

                       ปรารถนานั้น

                          2.1.1  องค์ประกอบของมนุษย์
                                 มนุษย์ประกอบได้ด้วยขันธ์ห้า ได้แก่ (สาโรช บัวศรี, 2526 : 11)

                                 1.  รูป (form) คือ ร่างกายหรือส่วนที่จะต้องได้ เห็นได้ หรือจะเรียกว่า เป็นส่วนของเนื้อ

                                     หนัง

                                 2.  เวทนา (Feeling หรือ Sensation) คือ ความรู้สึกเป็นทุกข์ เป็นสุข รวมเรียกว่า

                                     อารมณ์

                                 3.  สัญญา (Perception) คือ ความจ า
                                 4.  สังขาร (Mental Formations) คือ ความคิด

                                 5.  วิญญาณ (Consciousness) คือ ความรู้ตัว หรือการรับรู้

                                     ขันธ์ห้านี้ อ่านเรื่องย่อลงเป็นส่วนประกอบของมนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

                          1.  กาย หมายถึง รูปกาย

                          2.  นาม หมายถึง จิต นอกจากนั้นแล้วขันธ์ห้า นี้ท าให้มนุษย์เกิดปัญหาเกิดขึ้นอันเป็นอกุศลมูลที่

                              ติดตามตนเองอยู่เสมอ คือ ความโลภ โกรธ หลง
                       2.1.2  ความสุขที่มนุษย์แสวงหา

                                     มนุษย์มีธรรมชาติอีกประการคือ จะแสวงหาความสุขให้กับตนเองและต้องการหลีกเลี่ยง

                       ความทุกข์ ซึ่งความสุขที่มนุษย์แสวงหามีเป็นล าดับดังนี้

                          1.  ความสุขเกิดจากความต้องการทางร่างกาย เช่น การกิน การดื่ม การนอน การร่วมประเวณี

                              เป็นต้น
                          2.  ความสุขเกิดจากการสนองความต้องการทางจิตใจ เช่น การพักผ่อนหย่อนใจ ฟังดนตรี กีฬา

                              ท่องเที่ยว เข้าสังคม เป็นต้น

                          3.  ความสุขเกิดจากการสนองความต้องการทางปัญญา เช่น การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการการ

                              ค้นพบสิ่งใหม่ๆการคิดหาเหตุผลจนสามารถรู้แจ้ง ในธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เป็นต้น

                          4.  ความสุขเกิดจากการหมดความต้องการหรือหมดตัณหา อันได้แก่ วิมุตติ วิสุทธิ์ นิพพาน และ

                              วิราคะ
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45