Page 54 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 54
43
2.5 ธรรมชาติของมนุษย์กับความพอเพียง
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตผล รวมถึงความจ าเป็นที่จะต้องมี
ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก
และภายในทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการน าหลัก
วิชาการต่าง ๆมาใช้ในการวางแผนและการด าเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้าง
พื้นฐานจิตใจของคนในทุกระดับให้มีส านึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่
เหมาะสม ด าเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและ
พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เเป็นอย่างดี
ดังนั้น วิถีการด ารงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนขึ้นอยู่กับ “ความพอเพียง” สิ่งมีชีวิตเกือบทุก
ประเภททั้งใหญ่ไปถึงชีวิตในระดับจุลภาคที่เป็นสารชีวเคมี จะเห็นว่าวิถีการด ารงอยู่ของสิ่งมีชีวิต
ทั้งหมดล้วนตั้งอยู่บนฐานของ “ความพอเพียง” ทั้งนั้น พืชแต่ละชนิดต้องการน้ า แสงแดด แร่ธาตุ
ลักษณะคุณภาพของดินมาก น้อยไม่เท่ากัน เหล่านี้คือเรื่องของ “ความพอเพียง” ที่พืชแต่ละชนิดมี
ความต้องการตามธรรมชาติที่แตกต่างกัน หากมีมากเกินไปหรือน้อยเกินไป พืชชนิดนั้น ๆ จะไม่
แข็งแรง ไม่งอกงาม หรืออาจตายได้
ในสัตว์ก็เช่นเดียวกัน ทุกอิริยาบถหากมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ล้วนมีผลต่อสุขภาพและ
การด ารงอยู่ทั้งนั้น ส่วนมนุษย์จะมีค่าปกติซึ่งจะเป็นลักษณะค่าสูงและต่ าของปริมาณสารชีวเคมีซึ่ง
เป็นค่าปกติของร่างกายมนุษย์ เช่น ระดับน้ าตาลในเลือด ปกติจะมีค่าระหว่าง 70-110 mg/dL หรือ
ระดับของคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดซึ่งปกติจะมีค่าระหว่าง 120-220 mg/dL หากตรวจ
พบว่ามีค่าที่ต่ ากว่าหรือสูงกว่าค่าปกตินี้ ก็เป็นสัญญาณเตือนว่าระบบของร่างกายเริ่มไม่ปกติ ก าลังมี
อันตรายและเกิดปัญหาสุขภาพขึ้น จ าเป็นต้องหาสาเหตุเพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพต่อไป ค่าสูงและ
ต่ าที่ค้นพบนี้ อันที่จริงคือเรื่องของ “ความพอเพียง-ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป” ซึ่งธรรมชาติมี
กฎเกณฑ์ให้สิ่งมีชีวิตต้องด ารงชีพอยู่ในหลักของ “ความพอเพียง” จึงจะอยู่ได้อย่างปกติสุขและยั่งยืน