Page 13 - รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน คกก.พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปี 2561)
P. 13

หน้า 8



               และ Louvre Accord ในอดีต ซึ่งจะเห็นได้จากเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่เริ่มชะลอตัวลง และส่งผล
               กระทบต่อการขยายตัวของประเทศก าลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศที่มีสัดส่วนการพึ่งพิงการส่งออกสูงรวมทั้ง

               ประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันผลของการด าเนินมาตรการขึ้นภาษีนาเข้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท าให้ต้นทุนของ
               การน าเข้าวัตถุดิบที่ต้องน าเข้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น รวมทั้งท าให้สินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ มีราคาแพงขึ้น เงื่อนไข

               ดังกล่าวท าให้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของทิศทางทางการค้า ซึ่งจะเห็นได้จากบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ เริ่มปรับ

               แหล่งน าเข้าสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าส าเร็จรูปและเครื่องใช้ครัวเรือนจากจีนเป็นการน าเข้าจากเวียดนาม กัมพูชา และ
               ประเทศอื่น ๆ  มากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการต่างประเทศในจีนเริ่มมีการวางแผนการย้ายฐานการผลิต

               เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยมีประเทศปลายทางของการย้าย
               ฐานการผลิตที่ส าคัญ ๆ ประกอบด้วยกลุ่มประเทศอาเซียน (กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว

               เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) รวมทั้งประเทศอื่น ๆ เช่น อินเดีย เม็กซิโก และบังกลาเทศ ซึ่งแนวโน้มการ

               ย้ายฐานการผลิตจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 โดยเฉพาะในกรณีที่มาตรการกีดกันทาง
               การค้าขยายขอบเขตชัดเจนมากขึ้น

                              แม้ว่าการปรับเปลี่ยนทิศทางการลงทุนและการย้ายฐานการผลิตที่เกิดจากมาตรการกีดกันทาง

               การค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนดังกล่าวอาจเทียบเคียงได้กับเหตุการณ์ Plaza accord และ Louvre Accord ใน
               อดีตก็ตาม แต่เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตในหลาย ๆ ด้าน ท าให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

               จากการย้ายฐานการผลิตที่มีต่อไทยมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ ากว่าในอดีต นอกจากนั้น การขยายตัวที่สูงขึ้นของ

               ไทยในช่วงหลัง Plaza และ Louvre Accord ยังมีปัจจัยสนับสนุนส าคัญอื่น ๆ โดยเฉพาะการขุดพบก๊าซธรรมชาติ
               ในอ่าวไทย การริเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีความเชื่อมโยงไปข้างหน้าและมูลค่าเพิ่มสูง ความมั่นคงทาง

               เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ การด าเนินมาตรการพัฒนาเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ความอุดม
               สมบูรณ์ของกาลังแรงงาน และความโดดเด่นของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคในหลายๆ ด้าน

               แม้กระนั้นก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังเป็นโอกาสที่ส าคัญของไทยในการขับเคลื่อนการลงทุนและพัฒนา

               อุตสาหกรรมส าคัญ ๆ ที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน
               ระยะต่อไป
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18