Page 12 - รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน คกก.พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปี 2561)
P. 12
หน้า 7
5) การเปลี่ยนแปลงทิศทางการค้า การผลิต และการลงทุนระหว่างประเทศ การด าเนิน
มาตรการกีดกันทางการค้าและมาตรการตอบโต้ของประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่งผลท าให้
เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของประเทศ
ก าลังพัฒนาที่พึ่งพิงการส่งออก โดยเฉพาะในระยะแรกของการด าเนินมาตรการซึ่งระบบการค้า
และสายพานการผลิตระหว่างประเทศยังมีข้อจ ากัดในการปรับตัว
ย้อนรอย Plaza และ Louvre Accord
ในการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นน า 7 ประเทศ (G7) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2528 ได้มีข้อตกลง
ในการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่าง
ประเทศครั้งส าคัญซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Plaza accord
รวมทั้งน าไปสู่ข้อตกลงเพื่อการแทรกแซงค่าเงินอีก 1
ฉบับในปี 2530 ที่เรียกว่า Louvre Accord โดยมี
วัตถุประสงค์ในการกดดันให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น เพื่อแก้ไข
ปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ และชาติยุโรปที่มี
ต่อญี่ปุ่นและความซบเซาของภาคการผลิตที่เกิดจาก
สินค้าญี่ปุ่นเข้าไปตีตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ทั้งนี้การ
แทรกแซงภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวส่งผลให้เงินเยนแข็งค่า
ขึ้นจาก 260 เยนต่อ USD เป็น 140 เยนต่อ USD ซึ่งท า
ให้ราคาสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นมีราคาสูงขึ้นมาก และ
ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกของญี่ปุ่น
อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิต
รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งท าให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐาน
การผลิตไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีต้นทุนต่ ากว่า
(โดยเฉพาะไทยที่ได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าว
ค่อนข้างมาก) ซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้เศรษฐกิจของ
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ขณะนั้นกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประกอบด้วย สิงค์โปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
และไทย) ขยายตัวเร่งขึ้นและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วในระยะถัดมา แม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
จะชะลอตัวลงในปีแรกที่มีการแทรกแซงค่าเงิน
เมื่อเทียบเคียงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน การด าเนินมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ กับจีน และ
มาตรการตอบโต้จีนเริ่มมีผลกระทบต่อการย้ายฐานการผลิตและทิศทางการค้าในลักษณะใกล้เคียงกับกรณี Plaza