Page 31 - ทักษะการเรียนรู้ ประถม
P. 31

22


                         ความหมาย

                         ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสม

                  ประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้
                  แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย

                         ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น  หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้จากปู่  ย่า ตา

                  ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้าน ในท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ใช้ใน

                  การด าเนินชีวิตให้เป็นสุข ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องการท ามาหากิน เช่น การจับสัตว์ การปลูกพืช การ
                  เลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การท าเครื่องมือการเกษตร เป็นต้น

                         ครูภูมิปัญญา หมายถึง ผู้ทรงภูมิปัญญาด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านและสืบสานภูมิปัญญา

                  ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน และได้มีการยกย่องให้เป็น “ครูภูมิปัญญา
                  ไทย” เพื่อท าหน้าที่ถ่ายทอดและสืบสานภูมิปัญญาในการจัดการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ

                  การศึกษาตามอัธยาศัย











                                                                    ครูทองใส ทับถนน ครูภูมิปัญญาไทย ด้านศิลปกรรม ดนตรีพื้นเมือง

                                               ภาพจาก http://www.onsorn.com/tongsai.html
                         ความส าคัญ
                         ภูมิปัญญา เป็นฐานรากส าคัญและเป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนาคน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม

                  วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม  คติและความส าคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์และสืบ

                  ทอดมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน ท าให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจที่จะร่วมใจสืบ
                  สานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน ้าใจ ศักยภาพ

                  ในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีคุณค่าและความส าคัญดังนี้

                         1.  ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
                             พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด

                  ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามค าแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชนด้วยพระเมตตาแบบพ่อปกครองลูก

                              สมัยพระนเรศวร ทรงใช้ภูมิปัญญากระท ายุทธหัตถีจนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราช

                  ของชาติไทยคืนมาได้
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36