Page 33 - ทักษะการเรียนรู้ ประถม
P. 33

24


                  ระลึกถึงบุญคุณของน ้าที่มีความส าคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตของคน พืช และสัตว์ให้ได้ใช้ทั้งอุปโภคและ

                  บริโภค จากตัวอย่างดังกล่าวล้วนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติ
                         5.  ภูมิปัญญาไทย เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงได้ตามยุคสมัย

                             แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะหลั่งไหลเข้ามามากมาย แต่ภูมิปัญญาไทยก็

                  สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่น การรู้จักน าเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ
                  รู้จักการท าเกษตรแบบผสมผสาน พลิกฟื้นธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ การรู้จักสร้างปะการังเพื่อให้ปลา

                  อาศัยวางไข่และแพร่พันธุ์ เป็นต้น ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญามาปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ตามยุคสมัย


                         ประเภทของภูมิปัญญา

                         การจัดแบ่งประเภท/สาขาของภูมิปัญญาไทยจากการศึกษาพบว่า ได้มีการก าหนดสาขาภูมิปัญญาไทย

                  ไว้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งนักวิชาการแต่ละท่านได้ก าหนดไว้ใน

                  หนังสือสารานุกรมไทย โดยได้แบ่งภูมิปัญญาไทยได้เป็น 10 สาขา ดังนี้
                         1.  สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิค

                  ด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองใน

                  สภาวการณ์ต่าง ๆ เช่น การท าการเกษตรแบบผสมผสาน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ ไร่นาสวนผสมและ
                  สวนผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต การแก้ไขปัญหาโรค

                  และแมลง และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น

                         2.  สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการ
                  แปรรูปผลิตผล เพื่อชะลอการน าเข้า เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นธรรม

                  อันเป็นกระบวนการที่ท าให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและ

                  การจ าหน่ายผลิตผลทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม
                  เป็นต้น

                         3.  สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสม

                  บริการกองทุนและธุรกิจในชุมชนทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของ

                  สมาชิกในชุมชน เช่น การจัดการเรื่องกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์และธนาคาร
                  หมู่บ้าน เป็นต้น

                         4.  สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้ องกันและรักษาสุขภาพของ

                  คนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพแผนโบราณไทย เป็นต้น
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38