Page 65 - วทยทษะ
P. 65

61



               ในการวัดขนาดของแรงที่  กระทําต่อวัตถุก็คือ การใช้เครื่องชั่งสปริงเกี่ยว


               วัตถุไว้ แล้วออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริงเข็มชี้บนสเกลของเครื่อง  ซึ่งจะบอก


               ขนาดของแรง สําหรับหน่วยของแรงตามระบบเอสไอ (SI) คือ นิวตัน (N)


                     แรง 1 นิวตัน (N) คือ แรงที่ทําให้มวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วย


               ความเร่ง 1 เมตร/วินาที


                     ดังนั้น 1 นิวตัน 1 กิโลกรัม เมตร/วินาที หรือ 1 N = 1 kg m/s


                       นอกจากแรงจะมีขนาดแล้วยังมีทิศทางอีกด้วย  เมื่อออกแรงยกวัตถุ


               ขึ้นมา เช่น การยกสิ่งของ  เป็นการ ออกแรงในแนวดิ่งสิ่งของต่าง  ๆ จะ


               เคลื่อนที่ขึ้นตามแนวดิ่ง  หรือตามแนวแรง  เช่นเดียวกัน การออกแรง  ใน


               แนวระดับเพื่อผลักรถซึ่งเดิมจอดอยู่นิ่งให้เคลื่อนที่  รถจะเคลื่อนที่ไปใน


               ทิศทางเดียวกับทิศของแรงที่ กระทําต่อรถ การออกแรงแต่ละครั้งจะต้อง


               มีทิศทางไปทางใดทางหนึ่งเสมอ  ดังนั้น แรง จึงเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาด


               และทิศทาง เรียกว่า ปริมาณเวกเตอร์


               ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ ปริมาณเวกเตอร์และปริมาณสเกลาร์


                      ปริมาณเวกเตอร์ (Vector Quantity) หมายถึง ปริมาณที่มีทั้ง


               ขนาดและทิศทาง เช่น แรง ความเร็ว ความเร่ง นํ้าหนัก เป็นต้น


                      ปริมาณสเกลาร์ (Scalar Quantity) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่


               ขนาดอย่างเดียวไม่มีทิศทาง เช่น พลังงาน อุณหภูมิ เวลา พื้นที่ ปริมาตร


               อัตราเร็ว เป็นต้น
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70