Page 55 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 55

47


















                                                                                                     (ก)









                                                           (ข)                                       (ค)

                   รูปที่ 3.20 กลุ่มหินราชบุรี บริเวณอุทยานแห่งชาติคลองพนม

                          (ก) หินปูนชั้นหนาปานกลาง ลักษณะ continuous wavy parallel และรอยเลื่อนปกติ
                          (ข) ซากดึกดำบรรพ์ปะการัง ผนังด้านขวาบริเวณระหว่าง A5-A6
                          (ค) ซากดึกดำบรรพ์แอมโมนอยด์ ผนังด้านขวาบริเวณระหว่าง A5-A6

                                 การเกิดถ้ำลอด : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียนเมื่อ

                   ประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเลเป็นจำนวน
                   มาก เช่น ฟูซูลินิด ปะการัง ฟองน้ำ ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป
                   ตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้ง
                   สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก

                   ทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อน
                   ภายในชั้นหินจำนวนมาก เป็นต้น น้ำทะเลในอดีตที่เพมระดับสูงขึ้นกัดเซาะเกาะแผ่เป็นบริเวณกว้าง ร่องรอย
                                                              ิ่
                   ที่บันทึกตามเกาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาเป็นหลักฐานการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโบราณ
                   ร่องรอยดังกล่าวเรียกว่า “เว้าทะเล” (รูปที่ 3.21 (ฉ)) นอกจากนี้น้ำทะเลกัดเซาะตามแนวรอยแตก รอยเลื่อน

                   จนเกิดถ้ำทะลุจากจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งของเกาะกลางทะเล เกิดลักษณะเพดานของถ้ำลอดที่ค่อนข้าง
                   เรียบ กระแสคลื่นกระแทกบริเวณเพดานถ้ำลอดจนเกิดกุมภลักษณ์หัวกลับ หลังจากนั้นระดับน้ำทะเลค่อยๆ
                   ลดลง ปัจจุบันน้ำทะเลกัดเซาะบริเวณนี้ให้เกิดเว้าทะเล (รูปที่ 3.21 (ง)) ในขณะที่ระดับของน้ำทะเลกำลัง

                                                                                ่
                   ลดลง น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตก
                   และรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้น น้ำที่ซึมมาตามรอยแตกและรอยเลื่อน
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60